2.05.2555

ผักเหลียง

ภาพจากกูเกิ้ล

"ผักเหลียง"เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Gnetaceae

มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Gnetum gnemon var. tenerum

พบใน ประเทศไทย มาเลเซีย และ บอร์เนียว

ขึ้นอยู่ในสภาพป่าชื้น สูงกว่าระดับน้ำทะเล 20-70 เมตร

ในประเทศไทยพบเฉพาะ

ในเขตจังหวัด ชุมพร ระนอง พังงาและสุราษฎร์ธานี

มีชื่อเรียก ตามภาษาพื้นเมืองหลายชื่อ

เช่น ชุมพรเรียก กระเหรียง

ระนองเรียกต้นผักเหลียง พังงาเรียกผักเมี่ยง สุราษฎร์ฯ เรียกว่าผักเขรียง

เป็นไม้พุ่มที่เจริญเติบโตอยู่ในร่มเงาไม้ใหญ่ มีความสูงประมาณ 3 เมตร

สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหญ่ได้ และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพุ่มหนาแน่น

ลักษณะช่อดอกแบบเรียว (simple slender)

มีผลเป็นช่อ เมล็ดรูปไข่ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร

จะออกดอกเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ และจะเกิดผลในเดือนมีนาคม




การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย ราก กิ่งตอน ปักชำ และเมล็ด

ผักเหลียง มีลักษณะเด่นหลายอย่าง ถ้าเปรียบเทียบกับ ผักสวนครัว อื่นๆ

เช่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา จึงสามารถปลูกร่วมกับพืชอื่นๆ ได้

เช่น ริมสวนผลไม้ สวนยางพารา ฯลฯ และการดูแลรักษาง่าย ไม่ต้อง เตรียมดิน

สามารถปลูกลงดินได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก

และยังนำมาขาย เป็นรายได้เสริมของครอบครัวอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีอายุยืนนานไม่ต้องปลูกบ่อยๆ และสามารถเก็บยอดได้ตลอดปี

ถ้าเด็ดยอดบ่อยๆ ก็จะแตกยอด ออกมาใหม่

ถ้ามีการตัดแต่งกิ่งไม่ให้สูงเกิน 11/2 เมตร และใส่ปุ๋ย

ต้นเหลียงก็จะให้ผลผลิตสูงสามารถปลูกเป็นการค้าได้ และเนื่องจากไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง

จึงไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ในพืชผักชนิดนี้

ในประเทศไทยมีผักที่น่าสนใจ เช่น ผักเหลียงนี้มากมาย

แต่ยังขาดความสนใจจากนักวิชาการและหน่วยงานของรัฐ

ในการที่จะนำมาใช้ให้ เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่



เทียบกับผักที่ปลอดสารพิษในกรุงเทพฯแล้ว

ผักเหลียงทั้งปลอดภัย ทั้งอร่อย ทั้งประหยัดกว่า

ชาวบ้านเก็บมาขายกำละ 5-10 บาท

ผักเหลียงอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ

ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย

มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า

ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้าน

ให้เบต้าแคโรทีน สูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล

สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่า มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า

ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าใบตำลึงเสียด้วยซ้ำ

สุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนคือแครอท

แตาแครอทก็ไม่ได้มีเบต้าแคโรทีนมากไปกว่าผักเหลียงเลย

เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้มในผักเหลียงที่่มองไม่เห็น

เพราะมันถูกสีเขียว ของใบผักปกปิดไว้จนหมด

ผักเหลียงยังให้คุณค่าของแคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูกอีกด้วย

ผักเหลียงนำมาปรุงเป็นอาหารจานอร่อยได้หลายอย่างเช่น

ผักเหลียงต้มกะปิ ผักเหลียงผัดไข่


ห่อหมกรองด้วยผักเหลียง
ผักเหลียงต้มกะทิ
(อันนี้จานโปรดเลยค่ะ ทานกับน้ำพริกปลาทู สุดยอด)

ผักเหลียงลวกกะขนมจีนน้ำยาและอีกหลายๆจานอร่ิอยมั่กๆ

เครดิต:siamsouth.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น