8.16.2555

ผักเหลียง

สุดยอดผักพื้นบ้านปักษ์ใต้-ผักเหลียง








ใครไปใครมาจากทางใต้
เป็นต้องได้ของฝากประจำค่ะ
อย่างนึงที่ได้มาแทบทุกครั้ง
แต่ละครั้งก็เป็นเข่งๆ หรือถุงใหญ่เลย
ก็คือ "ผักเหลียง" เพราะอร่อยมาก
นัยว่าหาทานค่อนข้างยากที่กรุงเทพ
น่าจะออกเฉพาะฤดูด้วยซ้ำ


 
ภาพจากกูเกิ้ล


"ผักเหลียง"เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Gnetaceae 
มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Gnetum gnemon var. tenerum 
พบใน ประเทศไทย มาเลเซีย และ บอร์เนียว 
ขึ้นอยู่ในสภาพป่าชื้น สูงกว่าระดับน้ำทะเล 20-70 เมตร 
ในประเทศไทยพบเฉพาะ 
ในเขตจังหวัด ชุมพร ระนอง พังงาและสุราษฎร์ธานี 
มีชื่อเรียก ตามภาษาพื้นเมืองหลายชื่อ 
เช่น ชุมพรเรียก กระเหรียง 
ระนองเรียกต้นผักเหลียง 
พังงาเรียกผักเมี่ยง 
สุราษฎร์ฯ เรียกว่าผักเขรียง
เป็นไม้พุ่มที่เจริญเติบโตอยู่ในร่มเงาไม้ใหญ่ 
มีความสูงประมาณ 3 เมตร 
สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหญ่ได้ 
และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพุ่มหนาแน่น 
ลักษณะช่อดอกแบบเรียว (simple slender) 
มีผลเป็นช่อ เมล็ดรูปไข่ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร 
จะออกดอกเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ และจะเกิดผลในเดือนมีนาคม 


 



การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย ราก กิ่งตอน ปักชำ และเมล็ด
ผักเหลียง มีลักษณะเด่นหลายอย่าง
ถ้าเปรียบเทียบกับ ผักสวนครัว อื่นๆ 
เช่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา 
จึงสามารถปลูกร่วมกับพืชอื่นๆ ได้ 
เช่น ริมสวนผลไม้ สวนยางพารา ฯลฯ 
และการดูแลรักษาง่าย ไม่ต้อง เตรียมดิน 
สามารถปลูกลงดินได้เลย 
ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
และยังนำมาขาย เป็นรายได้เสริมของครอบครัวอีกด้วย 
นอกจากนี้ยังมีอายุยืนนานไม่ต้องปลูกบ่อยๆ 
และสามารถเก็บยอดได้ตลอดปี 
ถ้าเด็ดยอดบ่อยๆ ก็จะแตกยอด ออกมาใหม่ 
ถ้ามีการตัดแต่งกิ่งไม่ให้สูงเกิน 11/2 เมตร และใส่ปุ๋ย
ต้นเหลียงก็จะให้ผลผลิตสูงสามารถปลูกเป็น
การค้าได้ เนื่องจากไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง 
จึงไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ในพืชผักชนิดนี้

ในประเทศไทยมีผักที่น่าสนใจ 
เช่น ผักเหลียงนี้มากมาย
แต่ยังขาดความสนใจจากนักวิชาการ
และหน่วยงานของรัฐ 
ในการที่จะนำมาใช้ให้ เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ 



 



เทียบกับผักที่ปลอดสารพิษในกรุงเทพฯแล้ว 
ผักเหลียงทั้งปลอดภัย ทั้งอร่อย ทั้งประหยัดกว่า 
ชาวบ้านเก็บมาขายกำละ 5-10 บาท

ผักเหลียงอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่ง
เป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ 

ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย 
มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า 
ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้าน

ให้เบต้าแคโรทีน สูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล 
สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่า มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า 

ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าใบตำลึงเสียด้วยซ้ำ

สุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนคือแครอท 
ก็ไม่ได้มีเบต้าแคโรทีนมากไปกว่าผักเหลียงเลย

เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้มในผักเหลียงมองไม่เห็น
เพราะมันถูกสีเขียว ของใบผักปกปิดไว้จนหมด 
ผักเหลียงยังให้คุณค่าของแคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูกอีกด้วย

ผักเหลียงนำมาปรุงเป็นอาหารจานอร่อยได้หลายอย่างเช่น

ผักเหลียงต้มกะปิ ผักเหลียงผัดไข่
 
ภาพจากกูเกิ้ล


ห่อหมกรองด้วยผักเหลียง ผักเหลียงต้มกะทิ
 
ภาพจากกูเกิ้ล
(อันนี้จานโปรดเลยค่ะ ทานกับน้ำพริกปลาทู สุดยอด)


ผักเหลียงลวกกะขนมจีนน้ำยาและอีกหลายๆจานอร่ิอย

เครดิต:siamsouth.com

มะรุม

สมุนไพรไทยนี้
อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ของคนหลายๆคน
แต่การจดบันทึกไว้ เพื่อศึกษา เป็นสำคัญค่ะ



ข้อมูลจากThai herbs Clinic


ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาว
เพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย
รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล
คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม
ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปลวกหรือดอง
เก็บไว้กินกับน้ำพริก น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่ว
หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้ ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อนเป็นต้น

ประเทศอื่นๆจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง
หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ
นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร
เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนคร
ใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุนไพรอื่น
ไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

ในคัมภีร์ไบเบิ้ลกล่าวไว้ว่า มะรุมเป็นพืชที่สามารถรักษาทุกโรค
ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้อักเสบ โรคปอดอักเสบ
ฆ่าจุลินทรีย์ หรือเป็นยาปฏิชีวนะ
และแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้เป็นยาได้

ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้
แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ
ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก
แต่ที่ประเทศฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนม
จะกินแกงจืดใบ มะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนม
และเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam.
วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ
ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย
ชื่อมะรุมนี้ เป็นคำเรียกของชาวภาคกลาง
หากเป็นทางภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักมะค้อนก้อม"
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม"
ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก "กาแน้งเดิง"
ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก "ผักเนื้อไก่" เป็นต้น



ลักษณะต้นมะรุม

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง
ใบเป็นแบบขนนก หรือคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน
ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว
กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร
ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด
และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล
เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

มะรุม เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
ต้องการน้ำ และความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด
และการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-2 ต้น
เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา




มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน
เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ
เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม
ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ
ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา
ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น

สรรพคุณทางยา :

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด
ฝัก - ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)

ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
- แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้

ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD (โรคเม็ดโลหิตแดงแตกกระจาย)ไม่ควรรับประทาน


คุณค่าทางอาหารของมะรุม

ใบ มะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

วิตามินเอ บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

5
ใบมะรุม 100 กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)


6


ประโยชน์ของมะรุม
1.ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3.รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7.ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9.รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10.รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
11.เป็นยาปฏิชีวนะ

7

ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ

เปลือกจากลำต้น มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรค ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา

กระพี้ แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม

ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน

ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย

ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้

เมล็ด นำ เมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา

เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ด เป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้

นอกจากนี้กากของเมล็ดกาก ที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย

8
น้ำมันมะรุม
สรรพคุณ..ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น

9

การทำน้ำมันมะรุมมี 3 วิธีใหญ่ ๆ
1.นำเมล็ดมะรุมในฝักแก่ มาทำการทอดในน้ำมันมะพร้าวด้วยไพอ่อนๆ จนเมล็ดแห้งกรอบ
2.นำเมล็ดมะรุมในฝักแก่ มาบดละเอียดแล้วผสมน้ำ แล้วนำไปกลั่นเหมือนการต้มเหล้า
3.วิธีนี้สำคัญ เพราะไม่มีความร้อนมาเกี่ยวข้อง ไม่มีน้ำมาเกี่ยว เป็นการบีบเย็นเลยทำให้คงรักษาคุณค่าสารสำคัญได้มาก และได้น้ำมันคุณภาพดีที่สามารถเก็บไว้ได้นาน
น้ำมันมะรุม บีบเย็น
เริ่ม จากการนำเม็ดมะรุมจากฟักแก่มาตากแดด เพื่อไล่ความชื้น แล้วทำการบีบด้วยเครื่องบีบอัดระบบสกูรแนวนอน จากเม็ดมะรุม 6 กิโลกรัม ได้น้ำมันมะรุม 150 ซีซี


10

ชะลอความแก่
กล่าว กันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
ฆ่าจุลินทรีย์
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

11

การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจาก การกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

12

การกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอร อลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

จากการวิจัย มะรุมสามารถขับไขมันในเส้นเลือด ในตับและในไตได้ แต่ไม่เป็นตัวขับนำ หากจะรักษาอาการบวมจากโรคไต ควรรับประทาน ตะไคร้ แกนสับประรด อ้อยแดง หรือหญ้าคา ต้มเอานำดื่ม จะใช้ตัวเดียวหรือหลายตัวผสมได้ ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้จะออกฤทธิ์ในการขับนำปัสสาวะ และรักษาอาการอักเสบทางเดินปัสสาวะได้ดีกว่า อีกทั้งไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาขับปัสสาวะแผนปัจจุบันที่จะทำให้หูอื้อได้ ค่ะ

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลอง เกิดความเสียหายโดยไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีน
ทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้

ข้อแนะนำในการรับประทานสมุนไพร

1.ควรศึกษาให้ดีก่อนว่าสมุนไพรชนิดนั้นๆมีฤทธิ์ทางใด มีข้อห้ามและข้อควรรับประทานอะไรบ้าง จึงจะเกิดประโยชน์และไม่มีโทษ

2.หากสงสัยควรถามแพทย์แผนไทยหรือผู้รู้ให้กระจ่างก่อนจึงจะปลอดภัย

3.ปกติแล้วสมุนไพรทุกชนิด หากเรารับประทานเป็นประจำเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ควรได้หยุดรับประทานเป็นระยะๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพ และขับสารที่สะสมออกบ้าง จะทำให้ได้รับประโยชน์ได้เต็มที่และไม่เกิดผลข้างเคียง

ว่านนางคุ้ม

ว่านนี้มีค่าทางใจ

ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน หรือ ภูตผู้เฒ่าเฝ้า บ้าน
ชื่อสามัญ : ว่านนางคุ้ม (brisbane lily)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurydes amboinensis Lindl.
ตระกูล : Amaryllidaceae






ประโยชน์ :
นิยมปลูกไว้ในบ้านเพื่อคุ้มภัยพิบัติต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัคคีภัยจะดีเด่นเป็นพิเศษ
ทุกบ้านควรเสาะหามาไว้ประจำบ้าน
เมื่อถึงเวลาคับขันจะผ่อนหนักเป็นเบาได้ทันตาเห็น
เพราะชื่อ
“ นางคุ้ม ”
หมายถึงการคุ้มครองโดยตรงคนโบราณจึงนับถือมาก



วิธีปลูก :
เนื่องจากไม้นี้มีลักษณะใบสวยงาม
มักนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับบ้านอีกประการหนึ่งด้วย
จึงชอบที่จะหากระถางที่มีลวดลายสวยงามเป็นภาชนะรองรับ
เครื่องปลูกใช้อิฐทุบละเอียด
ผสมผงถ่านและดินเบาเล็กน้อย
ระวังอย่าให้น้ำขังได้หมั่นรดน้ำให้เปียก
แต่อย่าให้มากจนเกิน
ใบจะเขียวงดงามยิ่งนัก



เป็นว่านที่มีหัวอยู่ใต้ดิน
ลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่
ซึ่งหัวประกอบไปด้วยกลีบของหัว
ที่เรียงซ้อนกันอยู่จนเป็นหัวกลม
ใบกลมใหญ่ หนา คล้ายใบฟักทอง
มีสีเขียว ก้านใบยาวสีเขียวแก่




ดอกออกเป็นช่อจากกลางกอ
ก้านดอกเป็นแท่งสูงตรง ดอกเป็นสีขาว
แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบ 6 กลีบ
เกสรสีเหลือง มีกลิ่นหอม



ดินที่จะนำมาปลูกว่านนางคุ้ม
ให้นำไปเผาไฟเสียก่อน
แล้วทุบดินให้แตกละเอียด
แล้วตากน้ำค้างทิ้งไว้ 1 คืน
จึงนำดินใส่กระถางสำหรับปลูก
วางหัวว่านกลางกระถางแล้วกลบดิน
ไม่ต้องให้ดิน ปิดหัวว่านจนมิด
ให้หัวว่านโผล่ขึ้นมาเล็กน้อย
รดน้ำพอเปียกเท่านั้น อย่าให้น้ำมากไป
เพราะจะทำให้หัวว่านเน่าได้
รดน้ำ เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ



cc;บ้านอุณมิลิต
เชื่อกันว่านนางคุ้ม
เป็นว่านที่มีความมงคลทางด้านคุ้มครองป้องกันอันตรายต่าง ๆ
ถ้าปลูกไว้ในบ้านจะมีคุณทางป้องกันไฟไหม้ได้
คือ จะคุ้มครองให้บ้านและผู้เป็นเจ้าของรอดพ้นจากการถูกไฟไหม้

ว่านนางคุ้มหรือ ว่าน ผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน
ไม่ธรรมดาเลยหากปลูกว่านชนิดนี้
อย่างถูกต้องตามขั้นตอนพิธีกรรมตามโบราณ
อิทธิคุณของว่านนางคุ้มนี้
จะมีคุณสูงมากเกินกว่าที่หลายๆ ท่านคาดคิดถึง
โบราณท่านยกย่องว่าเป็นว่านที่มีญาณว่าน (เจตภูติ) คุ้มครอง
สามารถป้องกันภัย โจรผู้ร้าย ไฟไหม้
ตลอดจนภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้เข้ามากล้ำกลาย
อาณาบริเวณเคหะสถานที่มีว่านอยู่ได้
และเป็นว่านทางเรียกโชค เรียกลาภอีกด้วย
การปลูกว่านชนิดนี้ให้ได้ผล
ต้องเริ่มจาก อาถรรพ์กำกับดิน
ดินมงคลลงอาคม
ต้องเลือกดินมงคลที่มีอำนาจเป็นชัยภูมิมงคล
ผสมมวลสารมงคลอย่างผงแก้วเจ็ดประการ
ยันต์แม่พระธรณีจตุโร
ผงว่านมงคล๑๐๘ (เกิดญาณว่าน)
ผงดิน เจ็ดเขา เจ็ดสมุทร ผงดินใต้น้ำ ผงดินกลางเมือง
ซึ่งต้องเป็นการเลี้ยงโดยใช้อาคมกำกับ
ว่านชนิดนี้จึงจะมีคุณานุภาพไม่ยิ่งหย่อนกว่า
กุมารทองหรือเครื่องรางใดใด
ซ้ำยิ่งเลี้ยงยิ่งเพิ่มอานุภาพ
ยิ่งค้ำคูน ยิ่งแสดงอำนาจศักดิ์สิทธิ์
จนสามารถบนบอกได้สำเร็จผลดังใจนึก



ว่า่นต้นนี้ปลูกเองกับมือค่ะ
มีเพื่อนให้มานานแล้ว
แข็งแรง คงทน งอกงาม
ภูมิใจจัง น่าแปลกที่รู้สึกอุ่นใจ
ทุกครั้งที่มอง "นางคุ้ม"
บ้านเรามีผู้แก่ผู้เฒ่าคอยคุ้มครอง

ไม่เคยมีดอกเลยค่ะ
แต่พอย้ายที่ตั้งใหม่
สงสัยเป็นที่ถูกอกถูกใจท่านผู้เฒ่า
เลยออกดอกสวยน่ารักจริงๆ

รูปวันนี้มาในแนวหลังดำค่ะ
ตอนเริ่มทำบล็อกใหม่ๆ
ถอยกล้องใหญ่มาถ่ายรูป
แต่ฝีมือไม่ดีและขาดการฝึกฝน
ขี้เกียจขนไปไหนๆด้วย หนักๆๆ
ก็เลยปล่อยวาง
ไปหาตัวเล็กๆมาเล่นแทน

หลังดำของเราไม่ต้องใช้ฝีมือแต่
อุปกรณ์พิเศษราคาแพงงงช่วยได้มากค่ะ
แค่มีกระดาษโปสเตอร์สีดำๆ
ขนาดหนึ่งตารางฟุต ราคาสองบาท
แค่นั้น ได้หลังดำสมใจ
ถ้ายังไม่หนำก็เอาไปทำแซททูเรชั่น
ลดแสงลงอีกหน่อยก็พอแระ อิ อิ อิ

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทย์ Hbiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่อทั่วไป กระเจี๊ยบเปรี้ยว(กลาง), ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะแลงแครง (ตาก), ส้มปู(แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ: กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง
ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ
บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก
สีของดอกเป็นขาวเหลือง
ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ
เมื่อกลีบดอกร่วงโรยไป
กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีก
เกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้ม เมล็ดเอาไว้ภายใน

การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ดปลูก
ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก
ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด
ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร
พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว
ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้
รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด







สรรพคุณ

ใบ :กินได้ทั้งดิบและสุก
ใส่ในแกงเผ็ดเพื่อแต่งรสได้
ใบอ่อนและยอด ใช้แต่งรสเปรี้ยว ใส่ต้มหรือแกง
ชาวมอญใช้ใบกระเจี๊ยบแดงทำแกงกระเจี๊ยบ
กลีบเลี้ยงสีแดงใช้ทำเครื่องดื่ม มีวิตามินเอสูง
พบทั้งในประเทศไทยและแถบประเทศเม็กซิโก
กลีบเลี้ยงมีเพ็กตินสูง ใช้ทำแยมและประกอบอาหาร เบเกอรี่ได้ดี
มีฤทธ์กัดเสมหะ ทำให้โลหิตไหลเวียนดี
ช่วยย่อย อาหาร ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ล้างชะบาดแผล


กลีบเลี้ยง :(รสเปรี้ยว) ขับปัสสาวะ แก้เสมหะ
ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
แก้กระหายน้ำ ขับเมือก ให้ลงสู่ทวารหนัก



เมล็ด :(รสเมา) เมล็ดบดเพื่อเป็นยาระบาย
ขับปัสสาวะ และยาบำรุง
ขับเหงื่อ ลดไขมันในโลหิต บำรุงโลหิต
บำรุง ธาตุ ชับน้ำดี ขับปัสสาวะ
แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ


รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ
ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด (อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ขับปัสสาวะ)
ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต
แก้อาการขัดเบา และสามารถลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย


ผลอ่อน:(รสจืด)ต้มกินติดต่อกัน ๕-๘ วัน
ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
ผลแห้งป่นเป็นผง กินครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ ๓-๔ ครั้ง
ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ
แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
ลดไขมันใน โลหิต รักษาแผลในกระเพาะอาหาร


๑. ขับปัสสาวะ ใช้ดอกกระเจี๊ยบต้มดื่มต่างน้ำ
ช่วยขับปัสสาวะ ลดการ อักเสบของไต
และทางเดินปัสสาวะ ไม่พบผลข้างเคียงอันใด

๒. ลดความดัน ใช้กระเจี๊ยบ ๑๐-๑๕ ดอก ต่อน้ำ ๑ แก้ว
ต้มกิน ๓-๕ เวลา ช่วยลดความดัน

๓. ขับนิ่วในไต ต้มน้ำต้มกระเจี๊ยบวันละ ๔ แก้ว(๑ ลิตร)
ปัสสาวะที่เคย ขุ่นกลับใส และปัสสาวะเป็นกรดมากขึ้น

๔. ช่วยให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง ใช้ดอกกระเจี๊ยบต้มน้ำดื่ม

๕. แก้พยาธิตัวจี๊ด เอา กระเจี๊ยบทั้ง๕ ต้มน้ำ ๓ ส่วนเอา ๑ ส่วน
กิน ๑ ถ้วยชา หลังอาหาร ๓๐ นาที ๓ เวลาติดต่อกัน ๑ สัปดาห์
จะใช้น้ำผึ้งครึ่ง ถ้วยชา และน้ำยาครึ่งถ้วยชาก็ได้

๖. ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอล
ใช้ชาชงดอกกระเจี๊ยบ กินวันละ ๔ แก้ว

๗. ยับยั้ง เนื้องอก โพลีแซคคาไรด์
จากตาดอก(flower buds) ของ กระเจี๊ยบ
ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอกให้ช้าลง และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

๘. ช่วยระบายและทำให้อุจจาระนุ่ม ใช้ดอกกระเจี๊ยบต้มดื่ม






จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
น้ำต้มดอกแห้งมีกรดผลไม้และ AHA หลายชนิดในปริมาณสูง
ดอกกระเจี๊ยบมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก
ในปริมาณใกล้เคียงกับบลูเบอร์รี่ เชอร์รี่และแครนเบอร์รี่
จึงอวยประโยชน์ด้านป้องกันมะเร็ง
ชะลอแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่ม


ลาก่อนจ้าา บลูเบอร์รี่ สวัสดีกระเจี๊ยบแดง


น้ำต้มดอกกระเจี๊ยบแห้งมีสารแอนโทไซยานินสูง
สารกลุ่มนี้เองเป็นสารหลัก (เกินร้อยละ ๕๐)
ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
แอนโทไซยานิน จากกระเจี๊ยบ
มีฤทธิ์ยับยั้งออกซิเดชั่นของแอลดีแอล
และยับยั้งการตายของมาโครฟาจ
สาร Delphinidin 3-sambubioside (Dp3-Sam),
เป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่ได้
จากดอกกระเจี๊ยบแห้ง Dp3-
มีฤทธิ์กำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้
จึงมีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็ง
และอาจใช้ชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิด ได้


ข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน