2.04.2555

หิ่งหาย




"หญ้าเป็นยาถั่วป่าชื่อหิ่งหาย
ดอกเล็กเหลืองเรียงรายระบายสี
กลีบงามงอนช้อนช้อยสร้อยมาลี
ดับพิษดีแก้ไข้ใช้เป็นยา"








พืชถั่วป่าชนิดนี้
มีชื่อว่า หิ่งหาย บ้างก็เรียกหิ่งเม่น
มะหิ่งดง มะหิ่งหาย ,
หิ่งห้อย , หญ้าโป่งลม
เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง
อยู่ในสกุลเดียวกับปอเทือง
ต้นเตี้ยและเป็นพุ่ม
ออกดอกตั้งแต่
เดือนกุมภาพันธ์เรื่อยไป
เป็นไม้พุ่มใบเป็นใบรวม
มีใบย่อย 3-7 ใบ
ดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก
ขึ้นทั่วไปตามพื้นที่เปิดโล่ง


และพื้นที่ชื้นแฉะ
ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล
ไม่เกิน 300 เมตร
แหล่งกำเนิด อินเดีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และนิวกินี


ชื่อภาษาอังกฤษ 
Smooth Rattled Pod. Striped Crotalaria
ชื่อสกุล         Crotalaria
ชื่อวงศ์          Leguminosae
ชื่ออื่นๆ
หิ่งหาย ผี, 
หิ่งเม่น (เชียงใหม่) ,
หิ่งดง (ลำพูน),
รางจืดตัวเมีย, 
หิ่งหายตัวเมีย,
กิ่งหาย,ติ่งหาย,ถั่วเมรี ปอเทืองหิ่งเม่น ฮ่งหาย


ลักษณะทั่วไป
พืชชนิดลำต้นเป็นทรงพุ่มขนาดเล็กมีอายุสั้นเพียงปีเดียว
พอออกดอกออกผลแล้วก็เฉาแห้งตายไป
ดอกสีเหลืองมีบางชนิดดอกสีม่วง ฝักกลมพอง
สรรพคุณทางสมุนไพร
ทั้งต้น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้สูง ปรุงเป็นยาแก้ลม
บำรุงหัวใจ แก้พิษยาเบื่อเมา พิษอักเสบ

ราก  
รสจืดเมา รับประทานถอนพิษยาเบื่อยาเมา
แก้พิษไข้จากการอักเสบ ดับพิษร้อน
ทั้งต้น รสจืดเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้สูง

 ยอดอ่อน ช่อดอก
ลวกรับประทานกับน้ำพริก



เพิ่มเติมอีกนิด
ในการทำพระเครื่องหิ่งหายจะเป็นหนึ่งในพันธุ์พืชที่
ถูกเลือกใช้เป็นส่วนผสมหรือที่นิยมเรียกกันว่ามวลสาร

สารสำคัญ
ความเป็นพิษ
แอลคาลอยด์ในกลุ่ม pyrrolizidineเป็น anti-tumour
ทำให้ความดันโลหิตต่ำทำให้ cell ที่เกิดมาใหม่มีรูปผิดไปจากเดิม
 (mutagenic properties)เป็นพิษต่อตับ บางครั้งเรียกสารนี้ว่าliver toxins

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น