2.04.2555

จมูกปลาหลด

ชื่ออื่น : เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม),
จมูกปลาหลด ตะหมูกปลาไหล (ลพบุรี),
ผักไหม (เชียงใหม่),
สะอึก (ภาคกลาง),
จมูกปลาไหลดง (เพชรบูรณ์),
ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา),
กระพังโหม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxystelma secamone (L.) Karst.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE




ไม้เถาขนาดเล็ก
ขึ้นพาดพันต้นไม้อื่นในที่ดินทรายและดินเหนียว
ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่
มียางขาว ใบรูปยาวแคบปลายเรียวแหลม  ขอบเรียบ









ดอกออกที่ง่ามใบเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้น
ช่อหนึ่งมี 2-3 ดอก บางครั้งช่อใหญ่มี 6-9 ดอก
เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ 
ปลายแหลม กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ 
ริมขอบกลีบมีขน ด้านนอกสีขาวอมชมพู
ด้านในสีเดียวกันแต่มีเส้นสีม่วงเข้ม เกสรรูปห้าเหลี่ยม





ผลรูปไข่ ปลายโค้งเรียว เปลือกนิ่ม
แก่แล้วแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก
ปลายเมล็ดมีขนติดอยู่เป็นกระจุก
ช่วยให้กระจายพันธุ์ไปได้ไกลๆ









เป็นไม้ที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร
ชอบความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำ
ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอก บริโภคได้







 สรรพคุณทางยา เช่น ต้น รักษาคอและปากอักเสบ
หรือปรุงเป็นยาขับน้ำนม แก้บิด ไข้รากสาด
ใบและเถาแก้ไข้ รักษาบาดแผล
รากแก้โรคดีซ่าน
ยางจากต้น เป็นยางที่มีสารบางอย่าง
โดยเราจะนำมาชำระล้างแผลที่เป็นหนองได้
ราก ใช้รักษาโรคดีซ่านเถา
เด็ดเอาเถานี้นมาต้มกับน้ำ
แล้วรับประทานแก้เจ็บคอ กลั้วคอ



ถิ่นที่อยู่ : พบอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออก
และภาคกลางของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น