2.04.2555

ผักตบไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Monochoria hastata (linn.) solms
วงศ์ PONTEDERIACEAE
ชื่ออื่นๆ
ผักตบ ผักโป่ง (ภาคกลาง)
ผักสามหาว, โพลง,
ผักตบเขียด ผักหลอด
ผักสิ้น(สงขลา)

 เป็นไม้น้ำอายุหลายปี
มีลักษณะเป็นกอมีลำต้นใต้ดิน
ชูก้านใบขึ้นเหนือระดับน้ำ
ลักษณะก้านใบ กลมสีเขียวยาวและอวบน้ำ
สูง 14-20 ซม.
ภายในลำต้นมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ
ช่วงโคนจะเป็นกาบ
ช่วงกลางลำต้นถึงใบจะมีลักษณะกลม
ขนาดเล็กยาว 15-20 ซม.





ใบ เป็นใบเดี่ยว
รูปหัวใจหรือคล้ายหัวลูกศร
สีเขียวผิวเรียบปลายใบแหลม
ฐานใบเว้าเข้าหากัน
เส้นใบขนานกันและไม่ชัดเจน
ใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4.5-8 ซม.


    ดอก เป็นช่อแทงออกจากรากปลายสุด
ดอกเป็นกระจุกรวมกัน
ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลีบดอกสีม่วง
แต่ละช่อมีดอกย่อย 21-26 ดอก
ออกดอกตลอดปี




ถิ่นกำเนิด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตามเเหล่งน้ำจืด

เป็นพืชน้ำทนต่อความแห้งแล้งได้
และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว

ประโยชน์
ต้น รสจืดแก้พิษในร่างกาย
 ขับลมตำพอก แก้แผลอักเสบ
เป็นอาหารของสัตว์
ก้านใบ ใช้ทำเครื่องจักสาน
ใช้พอกถอนพิษ
เเก้ปวดเเสบปวดร้อน
ช่อดอกอ่อนเป็นอาหาร
ขยายพันธุ์โดย
เมล็ด หน่อ  ไหล แยกต้นอ่อน




สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นในน้ำตามห้วย - หนอง
และในทุ่งนาที่ชื้นแฉะ รากต้องติดดิน(ไม่ลอยน้ำแบบผักตบชวา)

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์
ตลอดปี
การปรุงอาหาร
ยอดอ่อน ใบอ่อน
ดอกอ่อน ต้นอ่อน ก้านดอก
ใช้รับประทานสดหรือนำมาต้มให้สุก
รับประทานเป็นผัก
ร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ
ยอดอ่อน ดอกอ่อน ก้านดอก
นำไปปรุงเป็น แกงส้ม แกงเลียง ผัด

ประโยชน์ทางยา
ผักตบไทยมี รสจืด


สรรพคุณ
ขับพิษร้อน ขับปัสสาวะ
หรือใช้ผสมกับผักกระเฉด
ตำคั้นเอาน้ำรับประทานแก้พิษเบื่อเมา


กองโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
รายงานว่าผักตบไทย 100 กรัม
ให้พลังงานต่อร่างกาย 9 กิโลแคลอรี่
ประกอบด้วยเส้นใย 0.7 กรัม
แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 1,961 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 324 ไมโครกรัมของเรตินนอล
วิตามินบีหนึ่ง 0.01 มิลลิกรัม
 วิตามินบีสอง 0.30 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม
วิตามินซี 5 มิลลิกรัม



 ข้อควรระวัง - ยังไม่มีค่ะ


ข้อมูลจาก" หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น