2.04.2555

ชุมเห็ดเทศ

ชื่อสมุนไพร : ชุมเห็ดเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Classia alata Linn.
ชื่อสามัญ : Ringworm Bush
วงศ์       : LEGUMINOSAE
ชื่อพ้อง Cassia alata L., Cassia bracteata L.f.,
Herpetica alata (L.) Raf.
ชื่อท้องถิ่น : ชุมเห็ดเทศ (ภาคกลาง)
ขี้คาก ลับมึนหลวง
หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ)
ส้มเห็ด (เชียงราย)
ชุมเห็ด (มหาสารคาม)
ตะลีพอ จุมเห็ด ตะสีพอ(กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ล้างหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง
Ringworm bush, Ringworm senna,
Ringworm shrub, Candlestick senna,
Candle bush, Candelabra bush,
Christmas candle, Empress candle plant,
Seven golden candlesticks, Impetigo bush


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชุมเห็ดเทศ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-5 เมตร
มีแขนงมาก ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 4-20 คู่ ก้านใบแข็ง ตั้งฉากกับกิ่ง ใบเรียงตัวเป็นคู่และเรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน รูปร่างของใบเป็นรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบมน หรือมีรอยเว้าตอนปลาย
ใบกว้าง 3-7 ซม. ยาว 5-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อสีเหลืองใหญ่ ผลเป็นฝักแบนมีปีก 4 ปีก คล้ายถั่วพู
ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่สีดำและมีเมล็ดสีดำ


ส่วนที่ใช้เป็นยา
ใบสดหรือแห้ง ดอกสด เมล็ดแห้ง
ดอกสดของต้นขนาดกลางไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
รสและสรรพคุณ
รสเบื่อเอียน ช้แก้กลากเกลื่อนโรคผิวหนังและอาการท้องผูก

สารสกัดหรือสารสำคัญของชุมเห็ดเทศ
มีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
ฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้และฤทธิ์เป็นยาระบาย
และทำให้เกิดอาการข้างเคียงคือท้องเสียน้อยกว่า
ขับปัสสาวะ  ลดความดันโลหิตสูง
บำรุงหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด แก้เบาหวาน
ใช้ชาชุมเห็ดเทศ ชงดื่ม ๓ เวลาก่อนอาหาร เป็นเวลา ๓ สัปดาห์ เมื่อน้ำตาลในเลือดปกติดีแล้ว ต้มใบยอดื่มอีก ๓ สัปดาห์
แก้สิวฝ้า ตกกระ  ดื่มชาชงชุมเห็ดเทศ เป็นประจำช่วยลดสิว ฝ้า ตกกระ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส
ฤทธิ์ต้านเชื้อรา สารสกัดด้วยเอธานอลของใบชุมเห็ดเทศสามารถฆ่าเชื้อรา dermatophyte
ที่ทำให้เกิดโรคกลากได้ดี  สารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศในการรักษาโรคเกลื้อน (Pituriasis versicolor)
สารสกัดจากใบแก่สดที่ความเข้มข้นมากกว่า 70 %ให้ผลดีในการรักษาโรคเกลื้อน (Pityriasis versicolor)และสามารถป้องกันการกลับมาใหม่ได้นานถึง 1 ปีถ้าต้องการให้หายขาดจะต้องให้สารสกัดทุก ๆ 4 เดือนติดต่อกัน 3 ปี ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดด้วยน้ำของใบชุมเห็ดเทศสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย

ข้อห้ามใช้
- ชุมเห็ดเทศออกฤทธิ์โดยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว
จึงห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ลำไส้อุดตัน
หรือมีอาการอักเสบของลำไส้ อย่างเฉียบพลัน
- ห้ามใช้ยาชงชุมเห็ดเทศในเด็กต่ำกว่า 12 ปี
- ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
หากมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ หรืออาเจียน
ข้อควรระวัง
- ชุมเห็ดเทศอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้
ปวดมวนท้อง มดลูกบีบตัว หรือท้องเสีย
หากมีอาการดังกล่าวควรลดขนาดใช้ลง
- ไม่ควรใช้เป็นยาระบายติดต่อกันเป็นเวลานาน
เพราะทำให้ลำไส้เคยชินต่อยาระบาย
และไม่สามารถบีบตัวได้เองหากไม่ใช้ยา
ดังนั้นควรใช้เมื่อท้องผูกจริง ๆ
- ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานในขนาดสูง
เพราะอาจทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปแตสเซียม ซึ่งจะทำให้เกิด
ความผิดปกติของลำไส้ ไตอักเสบหรือใจสั่นได้
- ไม่ควรใช้ชุมเห็ดเทศเป็นยาระบายในสตรีมีครรภ์ หรือให้นมบุตร



การเตรียมยาสมุนไพรแบบง่าย และวิธีใช้
โรคกลาก สังคัง ใช้ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียดเติมน้ำเล็กน้อยหรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียม เกลือตัวผู้ ( เกลือเม็ดยาวๆ)จำนวนเท่าๆ กันผสมปูนแดงที่กินกับหมากนิดหน่อย ตำผสมกันทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อนทาบ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง
จนหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน

อาการท้องผูก ใช้ใบและดอกชุมเห็ดเทศรักษา เตรียมได้โดยใช้ดอกสด 1 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบย่อยสด 12 ใบ หั่นตากแดด นำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือนำใบชุมเห็ดเทศแห้ง มาบดเป็นผง
ใช้ผงยาครั้งละ 3-6 กรัม บรรจุในถุงกระดาษเช่นเดียวกับถุงชา นำมาแช่ละลายในน้ำเดือด 120มิลลิลิตรนาน 10 นาที และใช้ดื่มก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการ หรือใช้ผงยาปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอน
รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน

ใบและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา
เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ใช้ชะล้างฝี แผล วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
ถ้าเป็นมากใช้ประมาณ 10 กำมือต้มน้ำอาบ

ใช้เมล็ด คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มเป็นน้ำชา เป็นยาระบายอ่อนๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก
สารศิลปยาไทย และorganicthailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น