2.05.2555

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง


ชื่อวิทย์ Hbiscus sabdariffa Linn.

ชื่อวงศ์ MALVACEAE

ชื่อทั่วไป กระเจี๊ยบเปรี้ยว(กลาง), ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะแลงแครง (ตาก), ส้มปู(แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ: กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก

สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง

ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ

บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก

สีของดอกเป็นขาวเหลือง

ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ

เมื่อกลีบดอกร่วงโรยไป

กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีก

เกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้ม เมล็ดเอาไว้ภายใน

การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ดปลูก

ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก

ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด

ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร

พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว

ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้

รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด




สรรพคุณ

ใบ :กินได้ทั้งดิบและสุก

ใส่ในแกงเผ็ดเพื่อแต่งรสได้

ใบอ่อนและยอด ใช้แต่งรสเปรี้ยว ใส่ต้มหรือแกง

ชาวมอญใช้ใบกระเจี๊ยบแดงทำแกงกระเจี๊ยบ

กลีบเลี้ยงสีแดงใช้ทำเครื่องดื่ม มีวิตามินเอสูง

พบทั้งในประเทศไทยและแถบประเทศเม็กซิโก

กลีบเลี้ยงมีเพ็กตินสูง ใช้ทำแยมและประกอบอาหาร เบเกอรี่ได้ดี

มีฤทธ์กัดเสมหะ ทำให้โลหิตไหลเวียนดี

ช่วยย่อย อาหาร ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ล้างชะบาดแผล

กลีบเลี้ยง :(รสเปรี้ยว) ขับปัสสาวะ แก้เสมหะ

ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

แก้กระหายน้ำ ขับเมือก ให้ลงสู่ทวารหนัก

เมล็ด :(รสเมา) เมล็ดบดเพื่อเป็นยาระบาย

ขับปัสสาวะ และยาบำรุง

ขับเหงื่อ ลดไขมันในโลหิต บำรุงโลหิต

บำรุง ธาตุ ชับน้ำดี ขับปัสสาวะ

แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ

ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันเลือด (อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ขับปัสสาวะ)

ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต

แก้อาการขัดเบา และสามารถลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย

ผลอ่อน:(รสจืด)ต้มกินติดต่อกัน ๕-๘ วัน

ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด

ผลแห้งป่นเป็นผง กินครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ ๓-๔ ครั้ง

ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ

แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

ลดไขมันใน โลหิต รักษาแผลในกระเพาะอาหาร



๑. ขับปัสสาวะ ใช้ดอกกระเจี๊ยบต้มดื่มต่างน้ำ

ช่วยขับปัสสาวะ ลดการ อักเสบของไต

และทางเดินปัสสาวะ ไม่พบผลข้างเคียงอันใด

๒. ลดความดัน ใช้กระเจี๊ยบ ๑๐-๑๕ ดอก ต่อน้ำ ๑ แก้ว

ต้มกิน ๓-๕ เวลา ช่วยลดความดัน

๓. ขับนิ่วในไต ต้มน้ำต้มกระเจี๊ยบวันละ ๔ แก้ว(๑ ลิตร)

ปัสสาวะที่เคย ขุ่นกลับใส และปัสสาวะเป็นกรดมากขึ้น

๔. ช่วยให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง ใช้ดอกกระเจี๊ยบต้มน้ำดื่ม

๕. แก้พยาธิตัวจี๊ด เอา กระเจี๊ยบทั้ง๕ ต้มน้ำ ๓ ส่วนเอา ๑ ส่วน

กิน ๑ ถ้วยชา หลังอาหาร ๓๐ นาที ๓ เวลาติดต่อกัน ๑ สัปดาห์

จะใช้น้ำผึ้งครึ่ง ถ้วยชา และน้ำยาครึ่งถ้วยชาก็ได้

๖. ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอล

ใช้ชาชงดอกกระเจี๊ยบ กินวันละ ๔ แก้ว

๗. ยับยั้ง เนื้องอก โพลีแซคคาไรด์

จากตาดอก(flower buds) ของ กระเจี๊ยบ

ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอกให้ช้าลง และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

๘. ช่วยระบายและทำให้อุจจาระนุ่ม ใช้ดอกกระเจี๊ยบต้มดื่ม
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

น้ำต้มดอกแห้งมีกรดผลไม้และ AHA หลายชนิดในปริมาณสูง

ดอกกระเจี๊ยบมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก

ในปริมาณใกล้เคียงกับบลูเบอร์รี่ เชอร์รี่และแครนเบอร์รี่

จึงอวยประโยชน์ด้านป้องกันมะเร็ง

ชะลอแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่ม



ลาก่อนจ้าา บลูเบอร์รี่ สวัสดีกระเจี๊ยบแดง

น้ำต้มดอกกระเจี๊ยบแห้งมีสารแอนโทไซยานินสูง

สารกลุ่มนี้เองเป็นสารหลัก (เกินร้อยละ ๕๐)

ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

แอนโทไซยานิน จากกระเจี๊ยบ

มีฤทธิ์ยับยั้งออกซิเดชั่นของแอลดีแอล

และยับยั้งการตายของมาโครฟาจ

สาร Delphinidin 3-sambubioside (Dp3-Sam),

เป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่ได้

จากดอกกระเจี๊ยบแห้ง Dp3-

มีฤทธิ์กำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้

จึงมีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็ง

และอาจใช้ชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิด ได้

ข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น