8.16.2555

พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา ข้อที่ ๗

อาตมาภาพขอถวายวิสัชนา
สัตตมปัณหาคำรบ ๗ ว่า
จะให้พลันล่มบรรทุกแต่เบา นั้น
คือห้ามมิให้บรรทุกเครื่องสักการอันหนัก
อันว่าถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา
คือว่าจะให้ถึง
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุอันดับ
คือวิบากขันธ์และกตัตตารูปเหลือบมิได้นั้น
เมาะว่าดับสิ้นทั้งปวง
แลมิได้บังเกิดสืบไปในวัฏสงสารกว่านั้น
ดุจสำเภาอันล่มแลจมลงในท้องทะเล
แลบมิได้เที่ยวไปในท้องทะเลกว่านั้น



อันว่าบรรทุกแต่เบานั้น
คือ กุศลธรรมทั้งหลาย
คือสัตตติงส โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
อันโยคาวจรพึงให้บังเกิด
ให้เจริญในขันธสันดาน
จงมากจงเนืองๆ
อย่าให้อกุศลธรรม
บังเกิดในขันธสันดานนั้นได้
จึงจะพลันถึงนฤพาน
ก็มิได้เที่ยวไปในวัฏสงสารกว่านั้น
ดุจสำเภาอันบรรทุกแต่เบาแลพลันล่ม
แลมิได้เที่ยวไปในท้องทะเลนั้นแล



ในที่นี้จะทรงพระกังขาว่า
บรรทุกแต่เบานั้นจะล่มด้วยเหตุอันใด
อาตมาภาพขอถวายพระพรให้แจ้ง
ซึ่งว่า
สำเภาอันบรรทุกสินค้าอันเบามีอาทิ
คือ ฝ้ายแลผ้าแพรไหม
แลหาศิลากดท้องเปนอับเฉานั้นมิได้
และพานิชชักใบกระโดงนั้น
ขึ้นให้สิ้นเต็มกำลัง
ครั้รลมอันมีกำลังพัดมาต้องใบกระโดงนั้น
สำเภาอันเบานั้นก็หกคว่ำลงเปนอันฉับพลัน
เหตุว่าหาศิลาจะกดท้องเปนอับเฉามิได้นั้นแล



อธิบายว่า
ให้บรรทุกแต่เบานั้น
คือห้ามมิให้บรรทุกหนัก
แลบรรทุกหนักนั้นคือ
อกุศลธรรมทั้งปวง
อันมีมิจฉาวิตก
แลราคะโทสะโมหะเปนอาทินั้นแล
อกุศลธรรมทั้งหลายนี้
ครั้นและยังบังเกิดเปนอันมากในสันดาน
ก็จะเที่ยวอยู่ในสงสารสิ้นกาลช้านาน
ดุจสำเภาอันบรรทุกสินค้าอันหนัก มีอาทิ
คือดีบุกแลทองแดงทองเหลือง
เหล็กศิลากดท้องเปนอับเฉานั้น
แม้นลมมีกำลังมาต้องใบกระโดงนั้นก็ดี
สำเภาอันบรรทุกหนักนั้นก็มิได้ล่ม
ก็ท่องเที่ยวไปมา
อยู่ในท้องทเลนั้นสิ้นกาลช้านาน



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้า
ตรัสเทศนาสั่งสอนพระภิกษุทั้งหลายดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อันว่าสำเภาเที่ยวไปในท้องมหาสมุท
แลทลุเปนช่อง ๖ แห่ง
แลน้ำในมหาสมุทร
ก็ไหลเข้าไปตามช่อง ๖ แห่งนั้น
สำเภานั้นก็เปนอันหนัก
ด้วยน้ำอันรั่วเข้าไปนั้น
ก็ไปในท้องทะเลนั้นเปนอันช้า
พานิชทั้งหลายก็ปิดช่อง
๖ แห่งนั้นไว้ มิให้รั่วเข้าได้
ก็วิดน้ำในสำเภสนั้นเสียให้สิ้น
สำเภาอันพานิขวิดน้ำเสียแล้วนั้น
ก็บังเกิดเปนอันเบาก็ไปถึงท่าสำเภา
อันปรารถนานั้นด้วยฉับพลัน



แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าสำเภาอันกล่าวคือ
อาตมาภาพแห่งท่านทั้งหลาย
ก็เปนอันหนักด้วยน้ำคือ
มิจฉาวิตกทั้ง ๓ คือ
กามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตก นั้นเสียแล้ว
แลท่านทั้งหลาย จงตัดเสีย
ซึ่งราคะแลโทสะอันผูกไว้ในสงสาร
ดุจเชือกแลพวนอันผูกสำเภานั้น
ให้ขาดจงสิ้น
ท่านทั้งหลายก็จะถึงอรหรรตผล
อันชื่อสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เหตุว่าเปนกิเลสนิพพาน
คือ กิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘
นั้นดับสิ้นแล้ว
แลยังแต่เวทนา ขันธ์สัญญา
ขันธ์สังขาร ขันธ์วิญญาณ
ขันธ์อันเปนวิบาก
เมาะว่าเปนผลแห่งกุศลากุศล
อันได้กระทำแต่ชาติก่อนนั้น
ให้บังเกิดนั้นให้เหลืออยู่นั้นแล้ว
ท่านทั้งหลายก็จะถึง
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อันมีวิบากขันธ์กตัตตารูปบมิเหลือนั้น
ในกาลเมื่อสิ้นอายุ
แห่งท่านทั้งหลายนั้นแล้ว ประการหนึ่ง



ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
จงตัดเสียซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ๕ ประการ
คือ ทิษฐิสังโยชน์ ๑ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๑
สีลพัตตปรามาสสังโยชน์ ๑
กามราคสังโยชน์ ๑ พยาบาทสังโยชน์ ๑
แลสังโยชน์ ๕ นี้
ย่อมผูกสัตว์ไว้ในอบายทั้ง ๔
ดุจเชือกอันผูกในบาทา
แลชักไปสู่อบายอันภาคเบื้องต่ำนั้น
ท่านทั้งหลายก็พึงตัดเสีย
ซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ด้วยมรรคญาณทั้ง ๓ คือ
โสดามรรคญาณ สกิทาคามิมรรคญาณ
อนาคามิมรรคญาณให้ขาด
ดุจบุรุษอันตัดซึ่งเชือก
อันผูกเท้าทั้งสองให้ขาด
ด้วยดาบอันคมนั้นแล้ว



ท่านทั้งหลายก็พึง
ตัดเสียซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการ
รูปราคสังโยชน์ ๑ อรูปราคสังโยชน์ ๑
มานสังโยชน์ ๑ อุทธัจจสังโยชน์ ๑
อวิชชาสังโยชน์ ๑
สังโยชน์ ๕ ประการนี้
ก็ย่อมผูกสัตว์ให้ไปบังเกิด
ในสวรรค์เทวโลกอันเปนภาคเบื้องบน
ดุจเชือกบ่วงผูกคอ
แลชักขึ้นไปสวรรค์เทวโลกนั้น
ท่านทั้งหลายก็พึง
ตัดเสียซึ่งสังโยชน์ ๕ นี้ให้ขาด
ด้วยอรหรรตมรรคญาณ
ดุบุรุษอันตัดเชือกบ่วงผูกคอนั้น
ให้ขาดด้วยดาบอันคมนั้น



และท่านทั้งหลายจงเจริญ
อินทรียธรรม ๕ ประการ
นั้นคือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
ท่านทั้งหลายจงล่วงข้ามเสีย
ซึ่งธรรมทั้งหลาย ๕ ประการนี้
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
อันเปนกังวลให้ข้องอยู่ในวัฏสงสาร



อันว่าบุคคลผู้ใดแลตัดเสีย
ซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการเบื้องต่ำ
แลตัดเสียซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการเบื้องบน
แลเจริญอินทรียธรรม ๕ ประการ
แลล่วงข้ามเสียซึ่งกังวล ๕ ประการดังนี้
อันว่าบุคคลผู้นั้น
พระตภาคตตรัสเทศนาว่า
ข้ามโอฆะทั้ง ๔ ประการได้แล้ว
ก็ถึงนฤพานอันเปนเที่ยงแท้แล
อาตมาภาพขอถวายวิสัชนาสัตตมปัณหา
ด้วยธรรมเทศนานี้
ขอจงเปนต้นหนแลนายเข็ม
สำหรับสำเภาเภตรา คือ
พระบวรอาตมา พระองค์ผู้ประเสริฐ
วิสัชนาสัตตมปัณหาปฤษณาครบ ๗ สำเร็จแล้วแต่เท่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น