5.03.2556

รับประทาน ร้อน-เย็น ไม่สมดุลย์


การวิเคราะห์อาการ ว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบใด
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
 1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว
     หรือไม่ค่อยมีขี้ตา หนังตาตก ขนคิ้วร่วง ขอบ    ตาคล้ำ
 2. มีสิว ฝ้า
 3. มีตุ่ม แผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
 4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
 5. ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
 6. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
 7. มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง พบรอยจ้ำเขียวคล้ำ
 8. ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
 9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
10. ผิวหนังผิดปกติ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
11. ตกกระสีน้ำตาล หรือสีดำตามร่างกาย
12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก
13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
     หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2
14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีท้องอืดร่วมด้วย
    (ท้องอืดโดยทั่วไปแล้วเป็นภาวะเย็นเกิน)
15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16. เป็นเริม งูสวัด
17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลือง หรือเขียว บางทีมีเสมหะพันคอ ไอ
18. โดยสารรถ มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
19. เลือกกำเดาออก
20. มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21. เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22. เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาล หรือดำคล้ำ อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ เล็บขบ
23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับหรืออากาศ     ร้อน  หรือเปลี่ยนอิริยายถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ
จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28. เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
29. หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
30. สะอึก
31. ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า
32. เกร็ง ชัก
33. โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่ โรคหัวใจ เนื้องอก มะเร็ง โรคเกาต์ เบาหวาน ความดัน-โลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และพิษของแมลงสัตว์กัดต่อย
   โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพร ฤทธิ์เย็น
       ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
1. ไข้สูงแต่หนาวสั่นหรือเย็นมือเย็นเท้า
2. ปวดหัวตัวร้อนร่วมกับท้องอืด
3. ปวด/บวม/แดง/ร้อนร่วมกับมึนชาตามเนื้อตัวแขนขา
    ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกันแก้ด้วยสมุนไพรฤทธ์เย็น แต่นำไปต้ม
หรือเติมน้ำร้อน ดื่มขณะอุ่นๆ หรือสมุนไพรฤทธ์ร้อน-เย็นผสมกัน


อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
1. หน้าซีดผิดปกติจากเดิม
2. ตุ่มหรือแผลในช่องปากด้านบน
3. ตาแฉะ ขี้ตามาก ตามัว
4. เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส
5. หนักหัว หัวตื้อ
6. ริมฝีปากซีด
7. ขอบตา หนังตาบวมตึง
8. เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า คิดช้า
9. ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน
10. ผิวหน้าบวมตึง แต่ไม่ร้อน
11. เจ็บหน้าอกด้านขวา
12. หายใจไม่อิ่ม
13. ท้องอืดจุกเสียดแน่น
14. ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก
15. อุจจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย
16. มือเท้า มึนชา เย็น สีซีดกว่าปกติ หนาวสั่นตามร่างกาย
17. ตกกระสีขาว
18. มักมีเชื้อราตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ/เล็บเท้า
19. เล็บยาวแคบกว่าปกติ
20. เท้าบวมเย็น
       โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพรฤทธิ์ร้อน

อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์ร้อน

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
- เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง


กลุ่มโปรตีน
- เนื้อ นม ไข่
- ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด
- เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง
- โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม
- เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม ซีอิ้ว เป็นต้น


กลุ่มไขมัน
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น
- น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
- กะทิ เนื้อมะพร้าว
- งา รำข้าว จมูกข้าว
- เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก
- ลูกก่อ เป็นต้น


กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
- กระชาย กระเพรา กุ้ยช่าย (ผักแป้น) กระเทียม
- ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น
- ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก (พริกไทย ร้อนมาก) แมงลัก
- ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ
- ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน
(มีพลังงานความร้อนหรือแคลอรี่ที่มาก) เช่น
- กะหล่ำปลี กระเฉด ใบยอดและเมล็ดกระถิน ผักกาดเขียวปลี
- ผักโขม ผักแขยง
- คะน้า แครอท
- ชะอม
- บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ
- แพงพวยแดง
- ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง
- ลูกตำลึง ฟักทองแก่
- โสมจีน โสมเกาหลี (ร้อนเล็กน้อย)
- ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด(เทา) ยอดเสาวรส หน่อไม้
- พืชที่มีกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น


กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน
เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่ขบวนการเผาผลาญ
เป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เ่ช่น
- กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง กระทกรก (เสาวรส)
- สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน)
- ขนุนสุก
- เงาะ
- ฝรั่ง
- ทุเรียน ทับทิมแดง
- น้อยหน่า
- มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย)
- ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
- ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเีขียว ลูกยางเหลือง
- สละ ส้มเขียวหวาน สมอพิเภก
- องุ่น
- ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ  ปึ้ง ย่าง หรือตากแห้ง เป็นต้น


อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

- อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด
- อาหาร กลุ่มไขมัน
- เนื้อ นม ไข่ที่มีไขมันมาก รวมถึงสารที่มีสารเร่งสารเคมีมาก
- พืชผักผลไม้ที่มีการสารเคมีมาก
- อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรง หรือใช้คลื่นความร้อนแรง ๆ
- อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
- อาหารใส่ผงชูรส
- สมุนไพร หรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
- วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ ผง หรือเม็ด
- ยกเว้นอาจกินได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- อาหาร ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ
- ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
- ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
- น้ำร้อนจัด เย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไร แค่ไหนที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด



************

อาหารฤทธิ์เย็น
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว (เส้นหมี่. เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องเหลือง
สำหรับ น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว และวุ้นเส้นกินเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนมากๆ


กลุ่มโปรตีน
- ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย
- เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม(เห็ดบด) เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก


กลุ่มผักฤทธิ์เย็น
- กระหล่ำดอก ก้านตรง กวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม
- หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวไช้เท้า (ผักกาดหัว) ก้างปลา
- ข้าวโพด ขนุนดิบ ดอกสลิด (ดอกขจร) ฝัก/ยอด/ดอกแค
- ใบเตย ผักติ้ว ตังโอ๋ ใบ/ยอดตำลึง
- ถั่วงอก
- บัวบก สายบัว ผักบุ้ง บล๊อกเคอรี่ บวบ
- ปวยเล้ง ผักปลัง
- พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย)
- ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว ฟัก แฟง แตงต่างๆ
- มะละกอดิบ-ห่าม มะเขือเปราะ มะเขือลาย มะเขือยาว มะเขือเทศ มะเดื่อ มะอึก ใบมะยม ใบมะขาม
- มังกรหยก มะรุม ยอดมะม่วงหิมพานต์
- ย่านางเขียว-ขาว
- รางจืด
- ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ทูน (ตูน) ว่านง็อก (ใบหูลิง) ผักว่าน
- โสมไทย ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ
- หมอน้อย ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน เหงือกปลาหมอ ผักโหบแหบ
- อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ยอดอีสึก (ขุนศึก) อีหล่ำ

กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น
- กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก แก้วมังกร กระท้อน
- แคนตาลูป
- ชมพู่ เชอรี่
- แตงโม แตงไทย
- ทับทิมขาว ลูกท้อ
- มังคุด มะยม มะขวิด มะดัน มะม่วงดิบ มะละกอดิบ-ห่าม มะขามดิบ
- น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว
- ลางสาด
- สับปะรด สตรอเบอรี่ สาลี่ ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง สมอไทย
- ลูกหยี หมากเม่า หมากผีผ่วย
- แอปเปิ้ล



       เทคนิคการปรับสมดุลของร่างกาย
1.สมุนไพรเพื่อปรับสมดุล ฤทธิ์ร้อน-เย็น เช่นน้ำใบย่านาง ฯลฯ
2.ขูดกวาซา เพื่อขับพิษ,ลมออกจากร่างกาย คนที่เป็นไข้,ปวดหัวหายทันที
3.สวนล้างลำไส้ใหญ่(ดีทอกซ์)เพื่อขับพิษ ทำแล้วรู้สึกสบาย เบากาย
4.การแช่มือแช่เท้าด้วยสมุนไพรฤทธ์เย็น และฤทธิ์ร้อน
5.การพอกทาด้วยถ่าน,สมุนไพรฤทธ์เย็น อาบ,หยอด,ประคบ
6.การออกกำลังกาย โยคะกดจุดลมปราณ การไล่เส้นลมปราณ เพื่อให้ลมปราณไหลเวียนดี
   หากลมปราณอุดตันจะตึง จะปวดบริเวณนั้น หรือบริเวณที่เกี่ยวเนื่องกัน
7.เน้นอาหารธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อย รสไม่จัด ผัก-ผลไม้ฤทธิ์เย็น ถ้าอกาศหนาวก็ฤทธ์ร้อนเล็กน้อย
   (ถ้าเมืองหนาวที่มีหิมะตกก็เน้นฤทธ์ร้อน)
8.ใช้หลักธรรมรักษาใจของตน ด้วยการเว้นความชั่วทั้งปวง (รักษาศืล) รักษาใจของตน
   ให้อยู่ในฝ่ายกุศลอยู่เสมอ และฝึกสติ ให้ตัวรู้ รู้ชัดอยู่กับปัจจุบันขณะ (รู้ลมหายใจเข้า-ออก)
   รู้กาย รู้ใจของตน พิจารณากาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตามภูมิธรรมของตน
9.รู้เพียร รู้พัก ให้พอดี

คัดลอกจาก  amata เกษตรกรมือใหม่ :kasetporpeang.com
รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.morkeaw.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น