5.29.2556

หญ้าปักกิ่ง...สมุนไพรเทวดา

หญ้าปักกิ่งเป็นที่รู้กันว่ามีสรรพคุณเด่นกับโรคมะเร็ง 
ได้สมญาหญ้าเทวดา ที่มีสารสำคัญในการยับยั้งมะเร็งบางชนิดในหลอดทดลอง
กลายเป็นความหวังของผู้ป่วยมะเร็ง



แต่สำหรับคนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยว่า หญ้าปักกิ่ง มีรูปร่างหน้าตา แตกต่างจากหญ้าธรรมดาๆ เช่นไร 
วันนี้เราลองมาทำความรู้จักหญ้าปักกิ่งกันดูดีไหม  

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdania loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathy 
ชื่อภาษาจีนว่า “เล้งจือเช่า” ฉายา หญ้าเทวดา
เป็น ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 10 ซม. ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ใบส่วนบนสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น ใบประดับย่อยค่อนข้างกลมซ้อนกัน สีเขียวอ่อน บางใส กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน ร่วงง่าย ผลแห้ง แตกได้ ลักษณะคล้ายคลึงกับหญ้ามาเลเซีย   มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพืชสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ และมะเร็ง


วิธีปลูกมี 2 วิธี วิธีแรก นำหญ้าปักกิ่งที่แยกมาจากต้นอื่นมาปักลงในดินที่เตรียมไว้ห่างกันประมาณ 1 คืบ หญ้าปักกิ่งชอบน้ำ แต่ต้องให้มีทางระบายออก ถ้าดินแฉะมีน้ำขัง รากจะเน่า

วิธีที่สองคือ ใช้เมล็ดปลูก โดยนำเมล็ดแก่มาขยี้ให้แตกแล้วโรยลงบนดินที่เตรียมไว้ประมาณ 12-15 วัน เมล็ดจะงอก หญ้าปักกิ่งที่ปลูกด้วยวิธีแยกต้นนำมาใช้เป็นยา ควรปลูกไม่ต่ำกว่า 3 เดือนขึ้นไป และ ถ้าวิธีเพาะเมล็ดต้องไม่ต่ำกว่า 5 เดือน หญ้าปักกิ่งชอบแดดรำไร
ไม่ควรโดนแดดจัดทั้งวัน หรือร่มมากเกินไป เพราะใบเหลือง
ควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง หน้าร้อนจะรดน้ำเพิ่มเป็น เช้า เย็น

หญ้าปักกิ่งถูกนำมาใช้รักษาโรคและบำรุงสุขภาพมานานในลักษณะของยาพื้นบ้าน
 เช่น ลดความดัน สะเก็ดเงิน ภูมิแพ้ แก้ไข้ ร้อนใน ริดสีดวงทวาร ฯลฯ

ดร. วิชุดา สุวิทยาวัฒน์ หัวหน้าสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บอกว่า จากข้อมูลวิชาการมีงานวิจัยในหลอดทดลอง
รองรับสรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง ว่ามีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ ต้านการอักเสบ
 และกระตุ้นเอนไซม์ dt-diaphorase 
ที่มีบทบาททำลายสารพิษที่ ก่อให้เกิดมะเร็ง 
แต่ยังเร็วเกินไปที่ระบุว่า มีฤทธิ์ต้านมะเร็งจนกว่ามีการทดลองในคน

แม้ว่าจะมีแนวโน้มว่า หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรที่รักษาโรคมะเร็งได้
แต่ กูรูสมุนไพร แนะนำว่า ควรรับประทานพอดี
เพราะหากดื่มหญ้าปักกิ่งทุกวันจะกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ดังนั้น วิธีรับประทานที่ดีควรรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน
ไม่ควรบริโภคนานเกินไป ซึ่งไม่เฉพาะแค่กับหญ้าปักกิ่งเท่านั้น
สมุนไพรทุกชนิดก็เช่นเดียวกัน หากรับประทานมากเกินไปจะกลายเป็นพิษได้

สำหรับคนปกติ ไม่ได้เป็นมะเร็ง "ไม่มี" ความจำเป็นต้องบริโภคหญ้าปักกิ่ง
แค่บริโภคอาหารที่ไม่เพิ่มโอกาส ความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง
ด้วยการไม่บริโภคอาหารปิ้งๆ ย่างๆ
บริโภคเมนูอาหารที่สลับๆ กันไปจะเท่ากับเป็นการตัดโอกาสที่เป็นโรคมะเร็งได้
แล้ว รวมถึงคนไข้มะเร็งที่รับประทานยากดภูมิ ไม่แนะนำให้บริโภค
แนวทางรักษาที่ดีคือ ผู้ป่วยมะเร็ง
ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
 ส่วนการบริโภคหญ้าปักกิ่ง น่าจะเป็นอีกทางเลือกทางหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็ง ที่ต้องการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังมีการศึกษา ฤทธิ์การเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ในคนของหญ้าปักกิ่งเพื่อพัฒนาขึ้นมาใช้เป็นยาหรืออาหารเสริมใช้กับผู้ที่เป็นมะเร็ง

ต้องอดใจรอกันไปก่อนนะคะ
 bangkokbiznews.com


สถาบันมะเร็งแห่งชาติให้ข้อมูลเรื่องหญ้าปักกิ่ง หรือหญ้าเทวดา หรือเล่งจือเฉ้า ว่า 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murdania loriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy 
 วงศ์ Commelinaceae 
เป็นไม้ล้มลุก สูง 7-10 เซนติเมตร และอาจสูงได้ถึง 20 ซ.ม.

ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด 

รวมกันเป็น กระจุกแน่น กลีบดอกสีฟ้าปนม่วง 
ใบประดับกลม ร่วงง่าย ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย 
มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ด 
ปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก

ตำรายาจีนใช้หญ้าปักกิ่ง รักษาโรคในระบบทางเดินหายใจ และกำจัดพิษ 

โดยใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน (ลำต้นหรือใบ) ที่มีอายุ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก) 
สำหรับปัจจุบันจุดประสงค์ของการใช้หญ้าปักกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.การ ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น 

ลดความทุกข์ทรมาน บางรายมีอายุยืนยาวขึ้น 
และเพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด

2.การ ใช้ในผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด 

เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 
ส่วนผู้ป่วยเป็นแผลเรื้อรัง พบว่าแผลแห้ง ไม่มีหนองและน้ำเหลือง

ฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยา สารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี1บี-G1b) 

แสดงฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อเซลล์มะเร็งเต้านมและลำไส้ ใหญ่ 
โดยสารจี1บีแสดงผลปรับระบบภูมิคุ้มกัน 
และผลทางพยาธิวิทยาพบว่าสามารถลดความรุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนูได้ 
จึงคาดว่าสารสกัดดังกล่าวอาจใช้ป้องกันการเกิดมะเร็งได้

นอกจาก นี้สารสกัดหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลาย 

พันธุ์ชนิดต่างๆ และมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase 
ซึ่งมีบทบาททำลายสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

วิธีใช้หญ้าปักกิ่งสด ดื่มน้ำคั้น 2 ช้อนโต๊ะ (30 มิลลิลิตร) เช้า-เย็นก่อนอาหาร 

ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม 
 ถ้าเป็นเด็กลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง

วิธีเตรียม นำส่วนเหนือดินหรือทั้งต้น น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม 

หรือจำนวน 6 ต้น ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 
โขลกในครกที่สะอาดให้แหลก เติมน้ำสะอาด 4 ช้อนโต๊ะ (60 มิลลิลิตร) 
กรองผ่านผ้าขาวบาง ผลข้างเคียง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 0.5-1 องศาเซลเซียส 
หากใช้เกินขนาด จะมีผลกดระบบภูมิคุ้มกัน

ข้อควรคำนึง

1.หญ้าปักกิ่งเป็น สมุนไพรคลุมดิน อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากดินมาที่ต้นและใบ 

การนำหญ้าปักกิ่งมารับประทานสดต้องแน่ใจว่า
ได้ล้างหลายครั้งจนสะอาดปราศจาก เชื้อจุลินทรีย์ 
เพราะถ้าล้างไม่สะอาดเพียงพอ 
เมื่อดื่มน้ำคั้นสดก็จะเป็นการดื่มเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย 
ซึ่งย่อมมีภูมิต้านทานต่ำ จึงอาจเป็นอันตรายมากกว่าคนปกติ

2.หญ้าปักกิ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายหญ้าอื่นๆ หลายชนิด 

เช่น หญ้ามาเลเซีย ซึ่งไม่มีประโยชน์ทางยา

3.หญ้า ปักกิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วย 

ต้องเป็นต้นที่มีอายุที่เหมาะสมดังนี้ 
 หญ้าปักกิ่งที่ปลูกโดยการชำกิ่ง ต้องมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป 
ส่วนหญ้าปักกิ่งที่ปลุกด้วยการเพาะเมล็ด ต้องมีอายุมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป

จากการศึกษาพบว่าหญ้าปักกิ่งที่มีอายุไม่ครบเวลาดังกล่าว 

จะไม่มีการสร้างสารจี 1 บี ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ทางยา

ดัง นั้นการซื้อหญ้าปักกิ่งมาบริโภค ต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งจริง 

เก็บเกี่ยวในขณะที่มีอายุครบเกณฑ์ที่กำหนดตามวิธีการเพาะชำนั้นๆ 
จึงจะได้คุณประโยชน์สูงสุดดังประสงค์ มิฉะนั้นก็จะเป็นการบริโภคหญ้าดังกล่าวที่สูญเปล่า 
ไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการ และอาจจะได้รับพิษในกรณีเลือกสมุนไพรชนิดอื่นมาบริโภค
ปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรมนำหญ้าปักกิ่งมาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยยาทุก 2 เม็ดมีคุณค่าเท่ากับหญ้าปักกิ่ง 3 ต้น ระยะเวลาใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

khaosod.co.th

: Users Online

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น