- "กัวซา" คือหนึ่งในภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน ที่ตกทอดมาตั้งแต่โบราณอีกหนึ่งอย่างของชาวจีน
- เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ที่ทำได้ไม่ยากและได้ผลดี
- ที่สำคัญช่วยให้เราลดการกินยาที่เป็นสารเคมี ที่จะทำให้เกิดความร้อนและเป็นพิษสะสมในร่างกายของเรา
- การขับความร้อนระบายพิษ ขูดเพื่อลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อันเนื่องมาจากเลือดไหลเวียนไม่สะดวก
- โดยเฉพาะคุณสมบัติเด่นในการรักษาอาการไข้แดดและไข้หวัดอย่างรวดเร็ว
- คำว่า "กัว" ในภาษาจีนหมายถึงการขูดหรือการกวาด ส่วนคำว่า "ซา" หมายถึงเม็ดทราย เมื่อผนวกกับสัญลักษณ์ของโรคภัยไข้เจ็บ จะได้ความหมายของคำว่า "ซา" ที่เป็นอาการของพิษหรือโร ซึ่งปรากฏบนผิวหนังเป็นรอยผื่นหรือจ้ำสีแดงคล้ายเม็ดทราย การกัวซาจึงหมายถึงการขูดเพื่อขับสารพิษออกมาทางผิวหนัง ถือเป็นการเช็กสุขภาพได้ ถ้า "ซา" หรือพิษซึ่งจะมีลักษณะเป็นผื่น หรือจ้ำสีแดงจนถึงม่วง ขึ้นตรงไหนแสดงว่าตรงนั้นกำลังจะบกพร่อง หรือบกพร่องแล้ว ควรรีบได้รับการรักษา
แผ่นที่มาใช้ในการทำกัวซานั้นมีหลายแบบ มีสรรพคุณเฉพาะตัวที่พิเศษแตกต่างกันดังนี้
1. กัวซา”หม่าเล่า” เป็นหินหยกชนิดหนี่ง เชื่อกันว่ามีพลังงานและแร่ธาตุสูง เพราะทับถมกันนานนับล้านปี นิยมมาทำเครื่องลาง ของขลัง (ปี่เซี๊ยะ) หรือพกติดตัวเพื่อรักษาสุขภาพ
2.กัวซา”หยก” เป็นหินที่มีความเย็น ช่วยดูดซับความร้อนและพิษร้อนจากร่างกายได้ดี ช่วยในเรื่องของความงาม สิว ฝ้า
3. กัวซา”หินเปียนสือ” เป็นหินจากหุบเขาโบราณ มีแร่ธาตุและคลื่นเร็วเหนือเสียงที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า
4. กัวซา”เขาจามรี” เขาสัตว์มีฤทธิ์เย็น และจัดอยู่ในประเภทยาเย็นชนิดหนึ่งของยาโบราณ ช่วยดับพิษร้อน พิษไข้ มีสีเหลืองอำพัน
5. กัวซา”เขาควาย” เขาสัตว์มีฤทธิ์เย็น และจัดอยู่ในประเภทยาเย็นชนิดหนึ่งของยาโบราณ ช่วยดับพิษร้อน พิษไข้ มีสีดำ
6. กัวซา”หวี” ทำจากเขาควาย ช่วยกระตุ้นเส้นประสาทบนหนังศีรษะและการไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหนังศีรษะมากขึ้น กระตุ้นรากผมให้แข็งแรง ขับพิษร้อนจากความเครียด ลดอาการปวดศีรษะ ช่วยให้ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย
แผ่นกัวซาประเภทหินทุกชนิด ให้ความเย็นและความนุ่มนวลมากกว่าแผ่นกัวซาประเภทเขาสัตว์ แต่แตกได้ง่าย ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
- วัตถุประสงค์ของการทำกัวซา คือ เพื่อการตรวจเช็กสุขภาพ และบำบัดรักษาโรค บรรเทาอาการเจ็บป่วย เพื่อผ่อนคลายหรือเพื่อสุขภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยให้เลือดลมภายในไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
- อาจารย์หยาง เผยเซิน ที่ปรึกษาสมาคมแพทย์แผนไทย และผู้ก่อตั้งบริษัทคลังไทสุขภาพ จำกัด ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรกังซา กล่าวถึงการบำบัดด้วยกัวซา ว่า "กัวซา เป็นวิธีการบำบัดด้วย การกระตุ้นจุดเส้นลมปราณ คล้ายการฝังเข็ม การนวด และการทายารักษาที่ผิวภายนอก รวมกันไปในคราวเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการขับพิษ การบำบัดด้วยกัวซาจะช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิตภายใต้ผิวหนัง ขยายรูขุมขนให้เปิดกว้าง ทำให้ร่างกายผลัดเซลล์เก่าสร้างเซลล์ใหม่ และขับพิษออกทางต่อมเหงื่อ อวัยวะภายในได้รับการบำรุงเลี้ยงจากโลหิตอย่างเต็มที่ ทำให้ร่างกายมีการปรับสมดุล ช่วยฟื้นฟูสมรรถนะของระบบภูมิต้านทานโรคให้แข็งแรง ซึ่งโรคที่บำบัดด้วยกัวซาทีได้ผลดีที่สุด คืออาการเป็นไข้ตัวร้อน ปวดเมื่อ หรือชาตามร่างกาย ปวดประจำเดือน อวัยวะภายในทำงานไม่ปกติ"
- ข้อดีของการทำกัวซาบำบัด คือ เป็นศาสตร์ที่เรียนรู้ง่าย ปฏิบัติง่าย ทุกคนสามารถเรียนและฝึกทำให้ตนเองและผู้อื่นได้โดยไม่มีผลเสีย ถ้าทำถูกวิธีจะเห็นผลทันที แต่ถ้าผิดวิธีก็ไม่มีผลเสียหรือผลข้างเคียงใด ๆ เพียงแต่ไม่หายจากอาการเจ็บป่วยนั้น ขูดผ่านเสื้อผ้าได้ทุกตำแหน่ง ในอดีต การกัวซาจะใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ เช่น เหรียญทองแดง ช้อน หรือ ชามมาขูด
- โดยก่อนการบำบัดให้ทา "ตัวนำประสาน" เช่น น้ำมันนวด เหล้า น้ำ โลชั่น หรือตัวยาอื่นลงบนตำแหน่งที่ต้องการบำบัด จากนั้นจึงใช้แผ่นกัวซาซึ่งปัจจุบันมักทำจากเขาสัตว์ แผ่นหยกหรือใช้อุปกรณ์ที่มีพื้นผิวขอบเรียบลื่นอื่น ๆ แต่ที่นิยมกันทั่วไปคือทำจากเขาควายน้ำ เนื่องจากทำจากธรรมชาติจึงปลอดภัยจากสารเคมี และยังมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนและขับสารพิษในร่างกาย ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า ไม่ขูดผิวหนังจนเสียหายหรือถลอก สามารถเห็นผลการรักษาได้ชัดเจน เมื่อใช้ร่วมกับน้ำมันกัวซา ซึ่งสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติกว่า 7 ชนิด ซึมซาบเข้าผิวหนังได้ดี ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและผลการบำบัดที่ได้ก็น่าพอใจ ที่สำคัญหากทำเองในบ้านจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและไม่ต้องกินยา
- กัวซาอย่างไรให้ถูกวิธี
- 1.ทุกครั้งที่จะกัวซาควรเริ่มขูดที่ชีพจรหลักก่อน จากนั้นจึงขูดจุดที่ป่วย (ชีพจรหลักอยู่ที่แนวกระดูกสันหลังทั้งแกน)
- 2.การขูดต้องใช้แรงที่สม่ำเสมอกัน บนแนวชีพจรที่ขูดควรขูดจนเห็นรอยจุด (ซา) ปรากฏขึ้นมา จากนั้นจึงขูดตำแหน่งอื่นต่อไป
- 3.ปกติหลังจากขูดแล้ว 2-3 วัน ตำแหน่งโรคที่ขูดจะมีอาการเจ็บปวดปรากฏขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติหลังขูดจนซาออกหมดแล้ว ต้องรออีก 5-7 วันจึงจะสามารถขูดซ้ำได้อีก การขูดเพื่อสุขภาพสามารถขูดผ่านเสื้อผ้าได้ทุกวัน
- 4.ถ้าตำแหน่งที่ขูดไม่ถูกต้องแม่นยำ หรือเทคนิคการขูดไม่ถูกต้อง ก็ไม่ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนแต่อย่างใด
- 5.หลังขูดแล้วให้ดื่มน้ำแก้วใหญ่ เพื่อช่วยระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย
- 6.สถานที่ขูดกัวซาจะต้องไม่มีลมแรง เช่น หน้าพัดลม หรือในห้องที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำ เนื่องจากจะทำให้เสียสมดุลของหยินและหยาง
- ประโยชน์ของการกัวซา
- +ขับพิษร้อนในร่างกาย ช่วยลดอาการปวดหัวตัวร้อน เป็นไข้เป็นหวัด ไอเรื้อรัง
- +คลายกล้ามเนื้อที่เครียดตึง เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- +กระตุ้นเซลล์โดยการเพิ่มออกซิเจน และระบายของเสียในเซลล์ กระตุ้นระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย ช่วยระบบ หมุนเวียนโลหิตดีขึ้น
- +เป็นการตรวจสอบความผิดปกติของอวัยวะภายใน
- +ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- +ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสการเกิดโรคต่าง ๆ ค้นพบสาเหตุของโรคได้ง่าย
- +เสริมความงาม ชะลอความแก่
- วิธีกัวซา
- - ใช้ขึ้ผึ้งย่านาง ขึ้ผึ้งเสลดพังพอน ขึ้ผึ้งแก้หวัด ยาหม่องดำ น้ำมันเขียว น้ำมันเหลือง
- น้ำมันพืช น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือน้ำเปล่า อย่างใดอย่างหนึ่งทาบนผิวหนังก่อนขูดซา
- ในบริเวณที่รู้สึกไม่สบายหรือบริเวณที่ถอนพิษจากร่างกาย ได้ดี เช่น บริเวณหลัง แขน ขา เป็นต้น
- แม้ไม่มีสมุนไพรทาเลย ก็สามารถขูดซาได้เลย โดยที่ไม่ต้องทาอะไร ก็ช่วยถอนพิษได้
- ถ้ารู้สึกหนาวเย็น ควรใช้น้ำอุ่น น้ำมันพืช หรือขึ้ผึ้งที่ไม่เย็นเกินไป ทาก่อนขูดซาหรือขูดซาหลังทำกัวซา ควรเกิน 4-8 ชั่วโมงขึ้นไป จึงสามารถอาบน้ำได้ ถ้าจำเป็นที่จะต้องอาบน้ำทันทีหลังกัวซา ก็ควรอาบน้ำอุ่นหรือ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือจำเป็นที่จะต้องอาบน้ำอาจอาบน้ำธรรมดา หลังกัวซาอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อให้เลือดเคลื่อนมาบริเวณ ผิวหนังมีเวลาระบายพิษออกไปได้มาก ถ้าเรารีบอาบน้ำเย็นเร็วเกินไป เส้นเลือดจะหดตัวบีบเลือด ที่กำลังบาย้พิษอยู้่ กลับคืนไปสู่เซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในของเรา ทำให้ระบายพิษได้น้อย
- ทิศทางของการกัวซาขูดศรีษะ ขูดจากกลางศรีษะจนถึงตีนผม จนทั่วศรีษะขูดใบหน้า บริเวณใบหน้า ให้เอากึ่งกลางรหว่างคิ้วเป็นจุดศูนย์กลาง แล้วขูดออกไปเป็นรัศมีวงกลม
- ทุกทิศทุกทางหรือ ขูดออกด้านข้างก็ได้
- สำหรับบริเวณตาให้หลับตาลง แล้วขูดเบา ๆจากหัวตามาหางตาและให้ทั่วบริเวณรอบตา
- ทั้งหมด ลงน้ำหนักและปริมาณการขูดแค่พอรู้สึกสบายขูดแผ่นหลังส่วนที่ชิดประดูกสันหลัง ขูดตั้งแต่ต้นคอยาวลงมาจนถึงเอว
- ฟื้นที่แผ่นหลังส่วนที่เหลือให้ขูดออกข้างขูดบริเวณลำตัวด้านหน้าเริ่มจากกลางหน้าอกให้ขูดลง ใต้ไหล่ด้านหน้าให้ขูดออกข้าง
- หรือขูดลงก็ได้ ใต้ราวนมขูดตามร่องซี่โครงเฉียงเข้าหาสะดือ บริเวณท้องขูดลงหรือขูดเข้าหาสะดือก็ได้ขูด คอ แขน มือ สะโพก ขา เท้าและจุดที่ไม่สบายอื่น ๆหรือจุดที่จำทิศทางการขูดไม่ได้ให้ขูดลงหรือขูดตามทิศที่เราขูดแล้วรู้สึกสบาย เพระาสภาพที่เกิดการบำบัดรักษาคือ สภาพที่รู้สึก
- สบายตามหลักสปฎิบัติเพื่อความแข็งแรงอายุยืน ในพระไตรปิฎก อนายุสสสูตร ข้อที่ 1การรู้จักทำความสบายแก่ตนเอง
- การขูดแต่ละครั้งให้ลงน้ำหนักแรงพอสบายไม่แรงเกินไม่เบาเกิน ตวามแรงที่ได้ผลดีนั้นให้ลงน้ำหนักไปค่อนข้างแรง
- หน่อยเท่าที่จะ ไม่เจ็บ/ไม่ทรมารมากเกินไป อาจไม่รู้สึกเจ็บเลยหรือรู้สึกเจ็บเล็กน้อยในขีดที่ทนได้ ลงน้ำ้หนัก สม่ำเสมอ
- การขูดที่พอดีคือ ขูดให้ผิวมีสีแดง จนกว่าจะไม่แดง ไปกว่านั้นหรือขูดจุดละประมาณ
- 10-50 ครั้ง อาจขูดมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ เมื่อรู้สึกดีขึ้น จึงเริ่มขูดตำแหน่งอิ่นต่อไปตำแหน่งที่ขูดอาจจะมีอาการระบมปรากฎขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปรกติ
- หลังขูดจนเกิดรอยแดง ณ จุดนั้น ๆ ออกมาแล้ว เราสามารถแปลผลได้ดังนี้
- 1. สีชมพูหรือสีแดงเรื่อ ๆ แสดงว่า ดี
- 2. เป็นปื้น แสดงว่า พิษเริ่มสะสม
- 3. เป็นจ้ำเหมือนไข้เลือดออก แสดงว่า พิษสะสมนานแล้ว ในทางแพทย์ทางเลือก เรียกว่า ลมแตก
- 4. ถ้าเป็นลักษณะช้ำ แสดงว่า มีพิษสะสมมาก
- ยิ่งถ้าช้ำจนถึงขั้นสีม่วงหรือสีดำ ในทางแพทย์ทางเลือกถือว่า มีพิษมากถึงขั้นมะเร็งซึ่งการตรวจในทางการแพทย์แผนปัจจุบันอาจพบว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ก็ได้ ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เรียบเรียงพบว่า
- ผู้ป่วยที่แพทย์แผนปัจจุบันวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง มากกว่า ร้อยละ 80 มักขูดซาพบสีม่วงหรือสีดำ
- การกัวซาจึงเป็นทั้งการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค ไปพร้อมกัน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 7 วัีน รอยแดงนั้นมักจะยุบหายไป
- มักจะมีคำถามว่าเมื่อกัวซาแล้วจะกัวซาอีกครั้งเมื่อไหร่ คำตอบก็คือ เมื่อรู้สึกไม่สบายอีกครั้ง ถ้าเป็นผู้ป่วยหนักอาจจะ
- กัวซาทุกวันหรือกัวซาวันละหลายครั้งก็ได้ ถ้าการกัวซานั้นทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น
- ไม่ควรขูดในจุดที่เป็นแผลฝีหนองหรือจุดที่เมื่อถูกขูดแล้วรู้สึกไม่สบายเจ็บปวดแสบร้อน
- ทรมานมากเกินไป แต่สามารถขูดตรงข้ามกับจุดที่ไม่สบายนั้น ๆ ก็สามารถรักษาจุดที่ไม่สบายนั้นได้
- ข้อมูลรวบรวมและเรียบเรียงจาก
- healthythaiherbs
- fansclubmorkeaw
- sanook
- guasahealth