5.29.2556

หญ้าหวาน




หญ้าหวาน หรือ สเตเวีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของปารากวัยในอเมริกาใต้ ความพิเศษของหญ้าหวาน คือ ส่วนของใบให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่ความหวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงานแต่อย่างไร (0 แคลอรี/กรัม) นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่าสตีวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล ด้วยความพิเศษของหญ้าหวานนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร และเครื่องดื่ม เป็นต้น
มนุษย์รู้จักนำสารสกัดที่มีรสหวานจากหญ้าหวานมาบริโภคหลายศตวรรษแล้วโดย ชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัย โดยนำหญ้าหวานมาผสมกับเครื่องดื่ม เช่น ชา นอกจากนี้ขาวญี่ปุ่นยังนำสารให้ความมาผสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผักดอง ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เนื้อปลาบด เป็นต้น
หญ้าหวานเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2550 และปลูกกันมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้มีการใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภค หญ้าหวานจึงจัดอยู่ในพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

- หญ้าหวานเป็นพืชล้มลุก ลำต้นกลมและแข็ง
- ใบเดี่ยว รูปหอก ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย
- ใบให้สารที่มีรสหวาน
- มีช่อดอกสีขาว

สรรพคุณของหญ้าหวาน

ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200-300เท่าแต่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
- ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
- ช่วยบำรุงตับอ่อน
- ช่วยเพิ่มกำลัง
- สมานแผลทั้งภายในและภายนอก
- ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
จาก หญ้าหวาน วิกิพีเดีย



วิธีใช้ในครัวเรือน
ใช้ใบแห้งใส่แทนน้ำตาล ไม่ควรใส่มากเพราะมีรสหวานมาก

ปลูก / ดูแล
หญ้า หวานใช้เมล็ดหรือกิ่งชำปลูกก็ได้ การเก็บเมล็ดทำได้ง่าย 

เพียงแต่ทิ้งให้ต้นมีดอกในเดือนตุลาคม 
แล้วเก็บเมล็ดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 
 วิธีเก็บใช้ถุงพลาสติครอบดอก เขย่าให้เมล็ดร่วงลงในถุง 
นำเมล็ดมาเพาะในเดือนมีนาคม-เมษายน จะมีอัตราการงอกดี
แต่ โดยทั่วไปจะนิยมตัดกิ่งมาปักชำ 
เนื่องจากสะดวกรวดเร็วกว่า 
ให้เลือกตัดกิ่งที่แข็งแรง ตัดเกือบถึงโคนต้น 
ให้เหลือใบอยู่ 2 คู่ แล้วตัดกิ่งที่จะเอามาชำ
ให้เหลือความยาว 12-15 ซม. 
เอามาชำในถุงหรือกระบะเพาะ เด็ดใบออกเสียก่อน 
เพราะถ้ารดน้ำความหวานจากใบจะลงดิน 
ทำให้กล้าที่ชำไว้ตายได้ พอกิ่งชำแตกรากออกมาได้ 10-14 วัน 
ก็นำไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้
หญ้า หวานเป็นพืชที่ต้องดูแลสูงทั้งการให้น้ำและใส่ปุ๋ยบำรุงดิน 
และเก็บเกี่ยวถี่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 3 ปี 
จึงนิยมปลูกแซมในระหว่างแถวไม้ผล เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง 
นอกจากนี้ยังปลูกได้ในสวนยาง ในขณะที่ต้นยางยังเล็ก 
หรือยังไม่ได้อายุที่จะกรีดยาง
การ ปลูกช่วงที่เหมาะสมอยู่ในราวเดือนธันวาคม-มกราคม 
ให้พรวนดิน ยกร่องทำแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 15 เมตร 
ปลูกหญ้าหวานได้ 7 แถว ระยะห่างระหว่างแถว
และระหว่างต้น 10 x 10 ซม. 
ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกไร่ละ 1,000 กก. คลุกเคล้าลงดิน 
เอากิ่งชำมาปลูกในหลุม
หญ้า หวานจะให้ผลดีต้องหมั่นดายหญ้า 
และให้น้ำในช่วงฤดูแล้ง หลังเก็บเกี่ยวควรใส่ปุ๋ยขี้ไก่ 
เพื่อเร่งการแตกใบใหม่ 
ในช่วงเดือนธันวาคมอันเป็นช่วงที่หญ้าหวานให้ผลผลิตต่ำสุด 
มักทำการตัดต้นหญ้าหวานทิ้งให้เหลือแต่ตอในดิน 
เพื่อให้ต้นตอแตกขึ้นมาใหม่ในเดือนมกราคม

เก็บเกี่ยว
หญ้า หวานเริ่มเก็บเกี่ยวใบครั้งแรก หลังจากปลูกได้ 20-25 วัน 

หรือ ในราวปลายเดือนมกราคม 
หลังจากนั้นก็เก็บเกี่ยวไปได้เรื่อย ๆ ปีละ 6-10 ครั้ง 
ขึ้นอยู่กับการดูแล แต่ผลผลิตจะสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม หลังจากนั้นต้นหญ้าหวานจะเริ่มแก่และออกดอก 
ชะงักการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตต่ำสุดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม
การ เก็บเกี่ยว ให้ฉีดพ่นน้ำล้างฝุ่นออกเสียก่อน 
ค่อยตัดกิ่งเอาไปเก็บใบ ถ้าตัดแล้วเอาไปล้างน้ำ 
ความหวานจะละลายไปกับน้ำ ทำให้คุณภาพต่ำลง

แปรรูบ
นำ กิ่งที่ตัดมารูดใบ แล้วนำใบไปตากแดด 2-3 วัน 

ไม่ควรตากทั้งใบและกิ่งก้าน เพราะจะทำให้ใบไม่สวย 
มีสิ่งเจือปนมาก เกลี่ยใบให้ทั่วระหว่างที่ตาก 
เมื่อแห้งสนิทดีแล้วจึงเก็บในภาชนะบรรจุ
thaihof.org

: Users Online

หญ้าปักกิ่ง...สมุนไพรเทวดา

หญ้าปักกิ่งเป็นที่รู้กันว่ามีสรรพคุณเด่นกับโรคมะเร็ง 
ได้สมญาหญ้าเทวดา ที่มีสารสำคัญในการยับยั้งมะเร็งบางชนิดในหลอดทดลอง
กลายเป็นความหวังของผู้ป่วยมะเร็ง



แต่สำหรับคนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยว่า หญ้าปักกิ่ง มีรูปร่างหน้าตา แตกต่างจากหญ้าธรรมดาๆ เช่นไร 
วันนี้เราลองมาทำความรู้จักหญ้าปักกิ่งกันดูดีไหม  

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdania loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathy 
ชื่อภาษาจีนว่า “เล้งจือเช่า” ฉายา หญ้าเทวดา
เป็น ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 10 ซม. ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ใบส่วนบนสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น ใบประดับย่อยค่อนข้างกลมซ้อนกัน สีเขียวอ่อน บางใส กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน ร่วงง่าย ผลแห้ง แตกได้ ลักษณะคล้ายคลึงกับหญ้ามาเลเซีย   มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพืชสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ และมะเร็ง


วิธีปลูกมี 2 วิธี วิธีแรก นำหญ้าปักกิ่งที่แยกมาจากต้นอื่นมาปักลงในดินที่เตรียมไว้ห่างกันประมาณ 1 คืบ หญ้าปักกิ่งชอบน้ำ แต่ต้องให้มีทางระบายออก ถ้าดินแฉะมีน้ำขัง รากจะเน่า

วิธีที่สองคือ ใช้เมล็ดปลูก โดยนำเมล็ดแก่มาขยี้ให้แตกแล้วโรยลงบนดินที่เตรียมไว้ประมาณ 12-15 วัน เมล็ดจะงอก หญ้าปักกิ่งที่ปลูกด้วยวิธีแยกต้นนำมาใช้เป็นยา ควรปลูกไม่ต่ำกว่า 3 เดือนขึ้นไป และ ถ้าวิธีเพาะเมล็ดต้องไม่ต่ำกว่า 5 เดือน หญ้าปักกิ่งชอบแดดรำไร
ไม่ควรโดนแดดจัดทั้งวัน หรือร่มมากเกินไป เพราะใบเหลือง
ควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง หน้าร้อนจะรดน้ำเพิ่มเป็น เช้า เย็น

หญ้าปักกิ่งถูกนำมาใช้รักษาโรคและบำรุงสุขภาพมานานในลักษณะของยาพื้นบ้าน
 เช่น ลดความดัน สะเก็ดเงิน ภูมิแพ้ แก้ไข้ ร้อนใน ริดสีดวงทวาร ฯลฯ

ดร. วิชุดา สุวิทยาวัฒน์ หัวหน้าสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บอกว่า จากข้อมูลวิชาการมีงานวิจัยในหลอดทดลอง
รองรับสรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง ว่ามีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ ต้านการอักเสบ
 และกระตุ้นเอนไซม์ dt-diaphorase 
ที่มีบทบาททำลายสารพิษที่ ก่อให้เกิดมะเร็ง 
แต่ยังเร็วเกินไปที่ระบุว่า มีฤทธิ์ต้านมะเร็งจนกว่ามีการทดลองในคน

แม้ว่าจะมีแนวโน้มว่า หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรที่รักษาโรคมะเร็งได้
แต่ กูรูสมุนไพร แนะนำว่า ควรรับประทานพอดี
เพราะหากดื่มหญ้าปักกิ่งทุกวันจะกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ดังนั้น วิธีรับประทานที่ดีควรรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน
ไม่ควรบริโภคนานเกินไป ซึ่งไม่เฉพาะแค่กับหญ้าปักกิ่งเท่านั้น
สมุนไพรทุกชนิดก็เช่นเดียวกัน หากรับประทานมากเกินไปจะกลายเป็นพิษได้

สำหรับคนปกติ ไม่ได้เป็นมะเร็ง "ไม่มี" ความจำเป็นต้องบริโภคหญ้าปักกิ่ง
แค่บริโภคอาหารที่ไม่เพิ่มโอกาส ความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง
ด้วยการไม่บริโภคอาหารปิ้งๆ ย่างๆ
บริโภคเมนูอาหารที่สลับๆ กันไปจะเท่ากับเป็นการตัดโอกาสที่เป็นโรคมะเร็งได้
แล้ว รวมถึงคนไข้มะเร็งที่รับประทานยากดภูมิ ไม่แนะนำให้บริโภค
แนวทางรักษาที่ดีคือ ผู้ป่วยมะเร็ง
ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
 ส่วนการบริโภคหญ้าปักกิ่ง น่าจะเป็นอีกทางเลือกทางหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็ง ที่ต้องการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังมีการศึกษา ฤทธิ์การเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ในคนของหญ้าปักกิ่งเพื่อพัฒนาขึ้นมาใช้เป็นยาหรืออาหารเสริมใช้กับผู้ที่เป็นมะเร็ง

ต้องอดใจรอกันไปก่อนนะคะ
 bangkokbiznews.com


สถาบันมะเร็งแห่งชาติให้ข้อมูลเรื่องหญ้าปักกิ่ง หรือหญ้าเทวดา หรือเล่งจือเฉ้า ว่า 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murdania loriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy 
 วงศ์ Commelinaceae 
เป็นไม้ล้มลุก สูง 7-10 เซนติเมตร และอาจสูงได้ถึง 20 ซ.ม.

ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด 

รวมกันเป็น กระจุกแน่น กลีบดอกสีฟ้าปนม่วง 
ใบประดับกลม ร่วงง่าย ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย 
มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ด 
ปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก

ตำรายาจีนใช้หญ้าปักกิ่ง รักษาโรคในระบบทางเดินหายใจ และกำจัดพิษ 

โดยใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน (ลำต้นหรือใบ) ที่มีอายุ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก) 
สำหรับปัจจุบันจุดประสงค์ของการใช้หญ้าปักกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.การ ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น 

ลดความทุกข์ทรมาน บางรายมีอายุยืนยาวขึ้น 
และเพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด

2.การ ใช้ในผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด 

เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 
ส่วนผู้ป่วยเป็นแผลเรื้อรัง พบว่าแผลแห้ง ไม่มีหนองและน้ำเหลือง

ฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยา สารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี1บี-G1b) 

แสดงฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อเซลล์มะเร็งเต้านมและลำไส้ ใหญ่ 
โดยสารจี1บีแสดงผลปรับระบบภูมิคุ้มกัน 
และผลทางพยาธิวิทยาพบว่าสามารถลดความรุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนูได้ 
จึงคาดว่าสารสกัดดังกล่าวอาจใช้ป้องกันการเกิดมะเร็งได้

นอกจาก นี้สารสกัดหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลาย 

พันธุ์ชนิดต่างๆ และมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase 
ซึ่งมีบทบาททำลายสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

วิธีใช้หญ้าปักกิ่งสด ดื่มน้ำคั้น 2 ช้อนโต๊ะ (30 มิลลิลิตร) เช้า-เย็นก่อนอาหาร 

ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม 
 ถ้าเป็นเด็กลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง

วิธีเตรียม นำส่วนเหนือดินหรือทั้งต้น น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม 

หรือจำนวน 6 ต้น ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 
โขลกในครกที่สะอาดให้แหลก เติมน้ำสะอาด 4 ช้อนโต๊ะ (60 มิลลิลิตร) 
กรองผ่านผ้าขาวบาง ผลข้างเคียง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 0.5-1 องศาเซลเซียส 
หากใช้เกินขนาด จะมีผลกดระบบภูมิคุ้มกัน

ข้อควรคำนึง

1.หญ้าปักกิ่งเป็น สมุนไพรคลุมดิน อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากดินมาที่ต้นและใบ 

การนำหญ้าปักกิ่งมารับประทานสดต้องแน่ใจว่า
ได้ล้างหลายครั้งจนสะอาดปราศจาก เชื้อจุลินทรีย์ 
เพราะถ้าล้างไม่สะอาดเพียงพอ 
เมื่อดื่มน้ำคั้นสดก็จะเป็นการดื่มเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย 
ซึ่งย่อมมีภูมิต้านทานต่ำ จึงอาจเป็นอันตรายมากกว่าคนปกติ

2.หญ้าปักกิ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายหญ้าอื่นๆ หลายชนิด 

เช่น หญ้ามาเลเซีย ซึ่งไม่มีประโยชน์ทางยา

3.หญ้า ปักกิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วย 

ต้องเป็นต้นที่มีอายุที่เหมาะสมดังนี้ 
 หญ้าปักกิ่งที่ปลูกโดยการชำกิ่ง ต้องมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป 
ส่วนหญ้าปักกิ่งที่ปลุกด้วยการเพาะเมล็ด ต้องมีอายุมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป

จากการศึกษาพบว่าหญ้าปักกิ่งที่มีอายุไม่ครบเวลาดังกล่าว 

จะไม่มีการสร้างสารจี 1 บี ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ทางยา

ดัง นั้นการซื้อหญ้าปักกิ่งมาบริโภค ต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งจริง 

เก็บเกี่ยวในขณะที่มีอายุครบเกณฑ์ที่กำหนดตามวิธีการเพาะชำนั้นๆ 
จึงจะได้คุณประโยชน์สูงสุดดังประสงค์ มิฉะนั้นก็จะเป็นการบริโภคหญ้าดังกล่าวที่สูญเปล่า 
ไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการ และอาจจะได้รับพิษในกรณีเลือกสมุนไพรชนิดอื่นมาบริโภค
ปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรมนำหญ้าปักกิ่งมาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยยาทุก 2 เม็ดมีคุณค่าเท่ากับหญ้าปักกิ่ง 3 ต้น ระยะเวลาใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

khaosod.co.th

: Users Online

5.12.2556

ชี่กง ผสานกายใจ ให้พลังชีวิต


ชี่กง ผสานกายใจ ให้พลังชีวิต
     ชี่กง เป็นศาสตร์แห่งการรักษาสุขภาพของจีน ลักษณะคล้ายวิชาโยคะของอินเดีย
อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิชาลมปราณ หรือกำลังภายใน
     ชี่กง มาจากคำว่า 'ชี่' หมายถึงพลังชีวิต ซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนในรูปแบบที่แตกต่างกัน
เรารับเอาชี่จากภายนอกโดยการกินอาหาร รับแสงแดด การหายใจ เป็นต้น
'กง' คือการกระทำที่นำไปสู่พลังชีวิต ชี่กง จึงหมายถึงการฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนพลังชีวิตในร่างกาย
     ปรัชญา ทางการแพทย์จีนกล่าวถึงความสำคัญของสมดุลและการไหลเวียนของเลือด
เหมือนกับน้ำที่ต้องหมุนเวียนผลัดเปลี่ยน เส้นของพลังงานในร่างกายที่มองไม่เห็น
จะชักนำชี่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งชี่จะไปตามกระแสเลือด
การอุดตันของเส้นพลังงานจึงอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและโรคภัยต่างๆ
ซึ่งรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม (Acupuncture) การกดจุด(Acupressure) และชี่กง
     นพ.เทอดศักดิ์ เดชคง จิตแพทย์ประจำกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ทำการศึกษาค้นคว้าและสอนการบริหารร่างกายแบบชี่กง อธิบายว่า
ชี่กงประกอบไปด้วยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ หายใจ เคลื่อนไหว สมาธิ
 เนื่องจากกายกับจิตมีความสัมพันธ์กันอยู่แล้ว
เพียงแต่คนเรามักไม่ให้ความสนใจหรือให้ความสนใจแยกส่วนกัน
หลักของชี่กงตรงกับระบบการรักษาทางการแพทย์แบบองค์รวม (psychosocial)
ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการรักษาทางกาย
ดังนั้นในการฝึกชี่กง กายคือการเคลื่อนไหว จิตคือภาวะสงบ
     นพ.เทอดศักดิ์ยืนยันว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีผลการวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศ
รวมทั้งมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางวารสารทางการแพทย์ในประเทศจีน
พบว่าโรคที่ตอบสนองได้ดีกับการฝึกชี่กง คือโรคในกลุ่มที่เรียกว่า psychosomatic
ซึ่งก็คือโรคทางกายอันเนื่องมาจากจิตใจ เช่น ไมเกรน ความดันสูง ภูมิแพ้ ผื่นผิวหนัง
ลมพิษ ท้องเสียจากลำไส้ว่องไวเกิน (IBS) โรคหัวใจขาดเลือด
รวมถึงโรคหอบหืด

เหตุผลที่เป็นไปได้คือ
  1. ผลของจิตใจ จิตใจที่สงบสบายย่อมทำให้ร่างกายสมดุล เจ็บไข้ได้ยาก ที่ป่วยก็หายเร็วขึ้น
  2. ผลของสมาธิ สมาธิที่เกิดระหว่างการฝึกจะทำให้สมองปลอดโปร่ง ลดการทำงานของหัวใจ 
  3. ความดันเลือดลดลง เนื่องจากการขยายของหลอดเลือดฝอยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ
  4. ภูมิคุ้มกันที่ทำงานสมดุล พบว่าการฝึกตนเองจะทำให้มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาว 
  5. ผู้ที่แพ้อากาศมักมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
  6. ให้ระบบฮอร์โมนเกิดการสมดุล ตั้งแต่ต่อมใต้สมองไปจนถึงต่อมหมวกไต
  7. การออกกำลังกายพร้อมกันทั้งกายใจ ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง
ชี่กง 4 ท่าง่ายฝึกได้ด้วยตัวคุณเอง
     ข้อดีของชี่กงคือสามารถฝึกท่าง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยดูจากหนังสือหรือวิดีโอแล้วฝึกตาม
 หรือเข้ากลุ่มฝึกตามสถานที่ที่มีการออกกำลังแบบชี่กง หากอยากเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง
และได้ผลมากขึ้นก็สามารถไปเรียนกับผู้รู้หรือที่ เรียกว่าอาจารย์ตามสำนักฝึกต่างๆ ได้
ส่วนผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ที่ใช้ชี่กงในการบำบัดเสริมให้กับคนไข้เพื่อความปลอดภัย
     การฝึกชี่กงควรทำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ตอนเช้าเป็นเวลาดีที่สุด
สำหรับการฝึก ควรสวมเสื้อผ้าที่สบาย ยืดหยุ่นดี แต่ไม่ควรสวมรองเท้าเพราะจะทำให้ปวด
เนื่องจากประจุไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไม่ได้และค้างอยู่ที่เท้า ไม่ควรฝึกในเวลาที่อารมณ์ไม่ดี โกรธ
หรือหงุดหงิด หากกำลังเครียดต้องฝึกหายใจจนความเครียดลดลงระดับหนึ่งก่อนจึงเริ่มฝึกชี่กงได้
ท่าที่ 1 ปรับลมปราณ
     วาง เท้าแยกกันด้วยความกว้างเสมอไหล่ ปรับเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า วางมือทั้ง 2 ไว้ข้างลำตัว
ค่อยๆ หงายฝ่ามือแล้วยกขึ้นผ่านทรวงอกถึงระดับคาง หายใจเข้าช้าๆ
แล้วคว่ำฝ่ามือ ลดมือลงจนถึงระดับเอว ย่อเข่า จังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

ท่าที่ 2 ยืดอกขยายทรวง
     จาก ท่าที่ 1 ซึ่งยังคงย่อเข่า ค่อยๆยกมือขึ้นและเคลื่อนช้าๆมาด้านหน้าจนถึงระดับอก
จึงค่อยๆ กางแขนออกไปจนสุดแขน หายใจเข้าช้าๆ ค่อยๆ ดึงมือกลับมาในทิศทางเดิม
ลดฝ่ามือลงแนบข้างลำตัว ย่อเข่า จังหวะนี้หายใจออกช้าๆ
ท่าที่ 3 อินทรีย์ทะยานฟ้า
     จากท่าที่ 2 กางแขนออกทางด้านข้าง เหยียดขาตรง กางแขนขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้า
ลดแขนลงข้างลำตัว หายใจออก
ท่าที่ 4 ลมปราณซ่านกายา
     จาก ท่าที่ 3 ตวัดช้อนมือจากด้านข้าง เสมือนเอาพลังจากธรรมชาติเข้ามาในร่างกาย
หงายฝ่ามือยกขึ้นจนถึงระดับคางแล้วคว่ำฝ่ามือลง ลดฝ่ามือ จนถึงระดับเอว ย่อเข่า
(หากเป็นท่าจบ เมื่อลดฝ่ามือลงให้แขนแนบลำตัว ไม่ต้องย่อเข่า)
การวางจิตใจ ให้วางไว้ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง
     สำหรับผู้เริ่มต้นฝึก ควรทำท่าที่ 1 ติดต่อกัน 5-10 นาที แล้วจึงทำท่าอื่นๆ
โดยใช้เวลารวมกัน 20-30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง

จาก นิตยสาร Health&cuisine

การฝึกชี่กง
 เริ่มด้วย
“ท่าเตรียม” (ภาพ 1)  
1. หันฝ่ามือไปด้านหน้า (ภาพ 2)


      2) เลื่อนแขนไปด้านหน้า ทำมุม 45 องศากับลำตัว แล้วยกแขนขึ้น (หายใจเข้า) ไปยังเหนือศีรษะ(ภาพ 3)
     
       3) คว่ำฝ่ามือที่จุดสูงสุดเหนือศีรษะ ให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างชี้เข้าหากัน (หายใจเข้าต่อ) แต่ไม่กระทบกัน (ภาพ 4)

      4) ค่อยๆ ลดมือทั้งสองข้างลงมาพร้อมๆ กัน (หายใจออก) ในท่าปลายนิ้วชี้เข้าหากัน ผ่านใบหน้า หน้าอก หน้าท้องลงไปเรื่อยๆ จนไปแยกออกจากกันที่ระดับหน้าท้องน้อย (ภาพ 5)
   
       ทำเช่นนี้ รวม 8 ครั้ง
       แล้วคืนสู่ท่าเตรียม (6)







ปัจจุบัน วิชาชี่กง DCP มีท่าฝึกรวม 6 ท่า คือ 1. สร้างฐานพลัง 2. ยืดตัว 3. หมุนตัว 4. เขย่าตัว 5. เชื่อมฟ้า และ 6. ถ่ายพลัง

ท่า ที่ 1 สร้างฐานพลัง เป็นท่าที่ผู้ฝึกฝนจะต้องฝึกฝนให้ดี เมื่อสร้างฐานพลังขึ้นมาแล้ว จะทำให้การฝึกท่าที่ 2-4 (ยืดตัว หมุนตัว เขย่าตัว)เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ร่างกาย ส่วนท่าที่ 5 เชื่อมฟ้า และท่าที่ 6 ถ่ายพลัง เป็นท่าเสริมความสมบูรณ์ให้แก่ระบบกำลังภายใน ซึ่งเมื่อการฝึกฝนจบสิ้นแล้ว ทั้งเนื้อทั้งตัว ทั้งกายทั้งใจ จะเปี่ยมล้นไปด้วยอารมณ์สุขอันสุนทรีย์ ทั้งอิ่มเอิบ ปีติ สดใส และกระปรี้กระเปร่าอยู่ในตัว

ในการฝึก ผู้ฝึกฝนสามารถทำการฝึกตามลำดับท่า ตั้งแต่ท่าที่ 1-6 ได้ด้วยตนเอง ในทันที โดยการดูภาพประกอบ ทั้งที่เป็นภาพลายเส้นในหนังสือ หรือภาพเคลื่อนไหวในวีซีดี (กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำ กำหนดนำออกเผยแพร่ในราวเดือนกรกฎาคม 2548)

หลักยึด 2 ประการ

ในการฝึกชี่กง DCP มีหลักยึดอยู่ 2 ประการ

ประการแรก การทำจิตคลาย-กายผ่อน

โดย การทำจิตใจและร่างกายให้ผ่อนคลาย ตามหลัก "ผ่อนคลาย สงบ เป็นธรรมชาติ" คือพาตัวเองเข้าสู่สภาวะ "เฉยๆ กลางๆ" หลุดหรือข้ามพ้นสภาวะการตรึงติดอยู่ในอารมณ์และความคิดใดๆอย่างสิ้นเชิง แล้วผ่อนลมหายใจยาว เบาๆ จนสุดปลายลม ซึ่ง ณ จุดปลายลมนั้น ให้ผู้ฝึกฝนสำนึกหรือบอกตนเองอยู่ภายในถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของ ตน (เทียนเหรินเหออี-ฟ้ากับคนเป็นหนึ่งเดียวกัน) ซึ่งเมื่อแตกออกไปให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือความเป็นหนึ่งเดียวของตัวเรากับ "ฟ้า-ดิน"

ในทันทีที่ทำเช่นนั้น จะเกิดการเชื่อมโยงกันเข้าระหว่างเรากับธรรมชาติในระดับ "ชี่" คือระดับกายละเอียด ในรูปของพลังงาน เรียกว่าพลังชี่

ในภาวะดังกล่าว ระบบพลังชี่ภายในหรือ "เน่ยชี่" จะเชื่อมโยงกับระบบพลังชี่ของธรรมชาติภายนอกหรือ "ไว่ชี่" อย่างแนบแน่นทางปลายนิ้วมือและปลายนิ้วเท้า
โดยเชื่อมเข้ากับพลังชี่ดินก่อน

ใน ขั้นนี้ จะเกิดการเคลื่อนตัวของประจุไฟฟ้าที่ปลายนิ้วหรือนิ้วมือ ฝ่ามือ อย่างคึกคักจนเรารู้สึกได้ นั่นหมายถึงว่า ตัวผู้ฝึกได้เข้าสู่สภาวะชี่กงแล้ว

ถัดจากนั้นจึงเริ่มหายใจเข้า ดึงพลังชี่ดินขึ้นไปเชื่อมพลังชี่ฟ้า ณ กลางศีรษะ การเชื่อมโยงเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้า-ดิน (ธรรมชาติ) ก็สมบูรณ์ ตัวเรามีความเป็นบูรณาการกับธรรมชาติอย่างแท้จริง

ในสภาวะเช่นนี้ ระบบพลังชี่ในร่างกายจะขับเคลื่อนตัวเองอย่างคึกคักกว่าปกติ เนื่องจากมีพลังชี่ภายนอกเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วย กลายเป็น "พลังชี่รวม" เคลื่อนไปตามระบบจิงลั่ว ขจัดสิ่งอุดตันตามจุดต้งเสวียต่างๆ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบจิงลั่ว

นอกจากนี้ ในสภาวะชี่กง การทำงานของมันสมองซีกซ้ายซึ่งควบคุม "จิตรู้" จะเบาบางลง ตรงกันข้าม การทำงานของมันสมองซีกขวาซึ่งควบคุม "จิตเดิม" จะเข้มข้นขึ้น เกิดการไหลทะลักของข้อมูลและภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ จะทำให้ผู้ฝึกฝน "เข้าถึง" ความจริงแท้ของชีวิตในฐานะส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เกิดปัญญาตื่นรู้ได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น

ดังนั้น การทำ "จิตคลาย-กายผ่อน" คลายปมที่มีอยู่ในจิตใจทั้งหมดออกมา ไม่ติดไม่ยึดอยู่กับเรื่องใดปัญหาใด ปล่อยวางอารมณ์และความคิดจิตใจลงจนหมดสิ้นในอึดใจที่บอกกับตนเองว่า "จิตคลาย-กายผ่อน" คือทำให้จิตใจและร่างกายผ่อนคลายอย่างเต็มที่ เข้าสู่ภาวะ "สบายๆ" จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญของการเข้าสู่สภาวะชี่กง

หากไม่อยู่ในภาวะ "จิตคลาย-กายผ่อน" ก็ยากที่จะเข้าสู่สภาวะชี่กงได้

ขอ ย้ำอีกที การสำนึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของตน สามารถกระทำไปพร้อมๆ กับการผ่อนลมหายใจยาว เบาๆ ในขณะที่กำลังทำ "จิตคลาย-กายผ่อน"

"สำนึก" ที่ว่า จะปรากฏชัด ณ ปลายสุดของลมหายใจ และพลันก็จะบังเกิดความปีติ สดใส ดื่มด่ำยิ่งนักในความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของตนเอง

ในจังหวะนี้ เอง ที่พลังชี่ภายในกับพลังชี่ภายนอก (พลังชี่ดิน) ได้เชื่อมต่อกันเข้า พาผู้ฝึกฝนเข้าสู่สภาวะชี่กงเบื้องต้น และเมื่อหายใจเข้า ดึงพลังชี่ดินขึ้นไปเชื่อมกับพลังชี่ฟ้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเราเข้าสู่สภาวะชี่กงเต็มที่

ในสภาวะชี่กง ผู้ฝึกฝนพร้อมอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้างกุศลธรรมฉันทะขึ้นในจิตใจ

ประการที่สอง การเจริญภาวนากุศลธรรมฉันทะ

เมื่อ เข้าสู่สภาวะชี่กง พลังชี่รวมทำงานอย่างคึกคัก ขณะที่จิตใจจะอยู่ในภาวะนิ่ง สงบ อย่างยิ่งยวด เหมาะแก่การเจริญภาวนากุศลธรรมฉันทะเป็นอย่างยิ่ง

ใน ทางพุทธธรรมถือว่า กุศลธรรมฉันทะ เป็นจุดเริ่มของกระบวนธรรมของกฎแห่งกรรม (ดี) ของผู้ฝึกฝน เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตที่เจริญและเป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า


กุศลธรรมฉันทะ คืออะไร?

กุศลธรรมฉันทะ ก็คือความต้องการทำในสิ่งที่ดีงาม

ใน หนังสือ "พุทธธรรม" ฉบับปรับปรุงและขยายความ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายถึงความหมายของ "กุศลธรรมฉันทะ" ว่าเป็น "ฉันทะในกุศลธรรม คือความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่งที่ดีงาม... คือต้องการทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น" (หน้า 493)

จากนี้ยังได้ อธิบายเพิ่มเติมว่า "ฉันทะนำไปสู่อุตสาหะ...พูดง่ายๆ ว่าฉันทะทำให้เกิดการกระทำ" และว่าฉันทะ "มีโยนิโสมนสิการเป็นสมุฏฐาน หมายความว่า ฉันทะเกิดจากโยนิโสมนสิการ(การคิดแยบคาย คิดถูกวิธี รู้จักคิด หรือคิดเป็น)..." (494) พร้อมกับสรุปความหมายรวบยอดของ "ฉันทะ" ไว้อย่างจะแจ้งว่า "คือภาวะจิตใจที่ยินดี พอใจ ตลอดจนต้องการให้เกิดมีความดำรงอยู่ด้วยดีของสิ่งทั้งหลายตามสภาวะที่ควรจะ เป็นจะมีของมัน...ความต้องการให้สิ่งทั้งหลายดำรงอยู่ในภาวะที่ดี ที่ถูกต้อง ที่งอกงาม ที่เรียบร้อย ที่สุขสมบูรณ์ของมัน หรือให้ภาวะที่ดี ที่ถูกต้อง สมบูรณ์อย่างนั้นเกิดมีเป็นจริงขึ้น"..."ในภาวะจิตเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีความอยากเสพเสวยสุขเวทนาหรือความนึกคิดผูกพันกับตัวตนเข้าไป เกี่ยวข้องด้วยเลย นับว่าเป็นกระบวนแห่งกุศลธรรมบริสุทธิ์หรือล้วนๆ" พร้อมกับเสริมในตอนท้ายว่า "กระบวนธรรมเช่นนี้ไม่เกิดขึ้นเองลอยๆ แต่จะต้องมีความคิดหรือความรู้ความเข้าใจเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะกระแสที่จะไหลเรื่อยไปโดยไม่ต้องใช้ความคิด ก็คือกระแสอวิชชา-ตัณหา" (510)

การเจริญภาวนา "กุศลธรรมฉันทะ" จะค่อยๆชักนำจิตใจของผู้ฝึกให้พัฒนาไปในทางสร้างสรรค์ เกิดแนวคิดและความต้องการที่จะทำในสิ่งดีๆอยู่เป็นนิตย์ อันเป็นจิตใจของผู้ที่เจริญ

คนเราเมื่อคิดไปในทางดี มีจิตเป็นกุศล การกระทำที่ตามมา ทั้งทางการพูดการจา และการประพฤติปฏิบัติ ก็จะเต็มไปด้วยเหตุผลและอารมณ์อันสุนทรีย์ เป็นที่ยินดีของผู้ได้ฟังได้เห็น เป็นที่รับได้ของผู้ที่ทำงานร่วมกัน เป็นบุคคลทรงคุณค่าในแวดวงอาชีพการงาน เป็นที่รักใคร่ของญาติมิตรใกล้ไกล



สรุปคือ จะมีบุคลิกที่น่าเชื่อถือ น่าคบค้าสมาคม และมี "เสน่ห์"

มอง ในหลัก "กฎแห่งกรรม" เมื่อคนเราคิดดี พูดดี ทำดี ไปเรื่อยๆ ผลกรรมหรือสิ่งที่เป็นผลจากการปฏิบัติ ก็ย่อมจะเป็นสิ่งดีมากกว่าสิ่งร้าย ยิ่งคิดดี พูดดี ทำดี "ถักทอต่อเชื่อม" ไปเรื่อยๆ ก็ย่อมจะเกิดผลดีตามมาเรื่อยๆ และอย่างเป็นทวีคูณ
นั่นคือ กระบวนดังกล่าวเมื่อดำเนินไปถึงจุดหนึ่ง พลันก็จะปรากฏเป็น "โอกาส" ในรูปแบบต่างๆ วิ่งมาหาเรา โดยที่เราไม่ต้องวิ่งไปไล่หาไล่จับ เมื่อนั้น ชีวิตเราก็จะก้าวเข้าสู่ระยะราบรื่น ไม่ต้องว่ายทวนกระแสชีวิตให้เหน็ดเหนื่อยอีกต่อไป

ชีวิตที่ราบรื่น คึกคัก และเป็นสุข ก็จะเป็นของเรา และเป็นเช่นนั้นตลอดไป

โดยทั้งหมดนั้น เริ่มต้นได้ตั้งแต่การเจริญภาวนากุศลธรรมฉันทะในระหว่างการฝึกฝนชี่กง DCP

หลักยึดสองประการนี้ คือกุญแจไขประตูไปสู่ชีวิตที่เข้มแข็ง ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ


หลักปฏิบัติเบื้องต้นในการฝึก ชี่กง DCP

ชี่ กง DCP เป็นชี่กงท่ายืน การฝึกฝนตั้งแต่ท่าที่ 1-6 จะเริ่มด้วยการยืนใน "ท่าเตรียม" คือในท่าสบายๆ วางเท้าซ้าย-ขวาคู่ขนานกัน (เป็นเลข "11") ห่างกันเสมอไหล่ (ดูรูป) ทุกครั้งไป

หลังจากนั้นจึงทำ "จิตคลาย-กายผ่อน" ให้พร้อมสำหรับการฝึกในท่าต่างๆ

ขอให้ทุกท่านเริ่มต้นด้วย "ท่าเตรียม" นี้เสมอ

ถึงตรงนี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านพร้อมแล้วที่จะเริ่มทำการฝึกฝนชี่กง DCP

ขอเชิญเลยครับ

ท่าที่ 1. สร้างฐานพลัง

ท่านี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน

ขั้น แรก เป็นการเชื่อมโยงพลังชี่ภายใน (เน่ยชี่) กับพลังชี่ภายนอก (ไว่ชี่) ให้เกิดพลังชี่รวมขับเคลื่อนในตัวตน นำผู้ฝึกฝนเข้าสู่สภาวะชี่กง

ขั้น ที่สอง เป็นการบริหารพลังชี่รวมให้แข็งแกร่งเหนียวแน่น เกิดการขับเคลื่อนอย่างเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันของพลังชี่ไปทั้งตัว แล้วลำเลียงพลังทั้งหมดไปเก็บไว้ที่ทุ่งพลังหรือตันเถียนล่าง (ท้องน้อยใต้สะดือ) อันเป็นฐานพลังชี่รวมของร่างกาย สำหรับรองรับการฝึกฝนร่างกายต่อไป (รวม 3 ท่าด้วยกัน ได้แก่ ท่ายืดตัว ท่าหมุนตัว และท่าเขย่าตัว) ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแกร่งสมบูรณ์ทั้งในระดับกายหยาบและกายละเอียด


ขั้นตอนการฝึก (ดูภาพประกอบ)

1) เริ่มด้วย "ท่าเตรียม" แล้วทำ "จิตคลาย-กายผ่อน" พร้อมกับผ่อนลมหายใจเบาๆ ยาวๆ จนกระทั่งสุดปลายลม ซึ่ง ณ จุดปลายลมนั้น ให้ผู้ฝึกฝนสำนึกหรือบอกตนเองอยู่ภายในถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของ ตน (เทียนเหรินเหออี)

เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงกันเข้าระหว่างเรากับ ธรรมชาติในระดับ "ชี่" คือระดับกายละเอียด ในรูปของพลังงาน เรียกว่าพลังชี่ ให้ระบบพลังชี่ภายในหรือ "เน่ยชี่" เชื่อมโยงกับระบบพลังชี่ของธรรมชาติภายนอก (ในขั้นนี้คือการเชื่อมเข้ากับพลังชี่ดิน) หรือ "ไว่ชี่" อย่างแนบแน่นทางปลายนิ้วมือและปลายนิ้วเท้า เข้าสู่สภาวะชี่กง
ในท่านี้ ผู้ที่ทำจิตคลาย-กายผ่อน สำนึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้ดี มักจะเข้าสู่สภาวะชี่กงได้เร็ว โดยจะรู้สึกมีประจุไฟฟ้าแล่นแปลบปลาบที่ปลายนิ้วมือและเท้าทั้งสองข้าง เกิดความรู้สึกชาๆ ที่ฝ่ามือหรือกระทั่งลำแขนทั้งสองข้างในทันทีที่ผ่อนลมหายใจไปจนสุดปลายลม

กระนั้น สำหรับผู้ฝึกฝนใหม่ ไม่จำเป็นต้องสนใจว่าจะเกิดอะไรกับตนเอง ขอให้ตั้งสมาธิฝึกฝนไปเรื่อยๆ ก็พอแล้ว

นั่นคือ ไม่ต้องคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทำ "จิตคลาย-กายผ่อน" ผ่อนลมหายใจเบาๆ ยาวๆ ไปเรื่อยๆ

อีก นัยหนึ่ง ตั้งใจฝึกฝนอย่างแน่วแน่ แต่ไม่เกร็งไม่เครียด ไม่คาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้น ประคับประคองตนเองอยู่ในสภาวะ "จิตคลาย-กายผ่อน" อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ให้การฝึกฝนดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

2) หายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ พร้อมกับสำนึกว่าได้ดึงพลังชี่จากพื้นดินขึ้นสู่ร่างกาย เลื่อนพลังชี่ขึ้นสู่ส่วนบนของร่างกายไปเรื่อยๆจนเต็มร่างและไปเชื่อมกับ พลังชี่ของฟ้าที่กลางศีรษะ

3) ชั่วอึดใจหนึ่ง จึงเริ่มผ่อนลมหายใจออกมาเบาๆ ยาวๆ ในภาวะที่พลังชี่ในกายทั้งหมดค่อยๆเลื่อนลงสู่เบื้องล่าง ผ่านปลายมือและปลายเท้าลงสู่ดิน

การหายใจเข้า-ออก หนึ่งรอบ หมายถึงว่าเราได้ดึงพลังชี่ในดินขึ้นไปเชื่อมพลังชี่บนฟ้า และขับพลังชี่บนฟ้าลงไปเชื่อมพลังชี่ในดิน ซึ่งจะส่งผลให้พลังชี่ภายใน (เน่ยชี่) กับพลังชี่ภายนอก (ไว่ชี่) รวมตัวกันเข้าได้ดี เป็นกระบวนการเชื่อมโยงกันเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันของตัวเรากับธรรมชาติ

อีกนัยหนึ่ง เป็นการเชื่อมโยงกันเข้าของ "ฟ้า-คน-ดิน" (หรือ "เทียน-เหริน-ตี้" ในภาษาจีนกลาง)


"คน" ซึ่งก็คือตัวเรา เป็นผู้เชื่อมโยงฟ้ากับดินเข้าด้วยกัน ด้วยการดึงพลังดินขึ้นมาเชื่อมพลังฟ้า และดันพลังฟ้าลงไปเชื่อมพลังดิน ตัวเราก็อยู่ในท่ามกลางและเป็นหนึ่งเดียวกับพลังฟ้าพลังดิน ระบบพลังชี่ในกายของเราก็เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวระบบพลังชี่ของฟ้าและดิน

จงทำการหายใจเข้า-ออกเช่นนี้ 3 ครั้ง

4) งอแขนขึ้น หันฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าหากัน และห่างกันพอประมาณ (ราว 10-20 ซ.ม.) ผู้ที่เข้าสู่สภาวะชี่กงแล้วจะรู้สึกถึงแรงดึงดูดของพลังชี่ระหว่างฝ่ามือ ทั้งสองข้าง

5) ดึงมือแยกห่างออกจากกัน จนกว้างเสมอไหล่ พร้อมกับหายใจเข้า แล้วหดมือเข้าหากัน มาอยู่ในท่าเดิม พร้อมกับหายใจออก (ดึงออก-หายใจเข้า หดเข้า-หายใจออก)

ทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่องจนครบ 8 ครั้ง

6) ปรับมือทั้งสองข้าง ให้มือซ้ายหงายลงไปอยู่ด้านล่าง มือขวาคว่ำอยู่ด้านบน ทิ้งระยะห่างกันเล็กน้อย แล้วหมุนมือขวา (และซ้ายตาม) เป็นวงกลม ตามการเดินของเข็มนาฬิกา เมื่อครบ 8 รอบแล้วหมุนมือกลับ ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาจนครบ 8 รอบ

7) พลิกมือซ้ายขึ้นมาอยู่ด้านบน ฝ่ามือคว่ำ พร้อมกับพลิกมือขวาลงไปอยู่ด้านล่าง ฝ่ามือหงาย ทิ้งระยะห่างเล็กน้อย แล้วหมุนมือซ้าย (และขวาตาม)เป็นวงกลม ตามเข็มนาฬิกา จนครบ 8 รอบ แล้วหมุนกลับ ทวนเข็มนาฬิกา จนครบ 8 รอบ

8) ลดฝ่ามือทั้งสองลงมาที่หน้าท้องน้อย หันฝ่ามือเข้าหาท้องน้อย สำนึกว่ากำลังลำเลียงพลังชี่ทั้งหมดไปเก็บไว้ในทุ่งพลังหรือตันเถียนล่าง

ยืนนิ่งอยู่ในท่านี้ราว 1 นาที แล้วลดมือทั้งสองลง คืนสู่ท่าเตรียม

เมื่อ ถึงตรงนี้ ร่างกายของผู้ฝึกฝนก็ได้เข้าสู่สภาวะชี่กงในระดับลึก ระบบพลังชี่ในกายแข็งแกร่งสมบูรณ์ที่สุด พร้อมอย่างยิ่งสำหรับการฝึกฝนร่างกาย (รวม 3 ท่าด้วยกัน คือ ท่ายืดตัว ท่าหมุนตัว และท่าเขย่าตัว)
ท่าที่ 2 ยืดตัว
   
      (ดูภาพประกอบ รวม 7 ภาพ)
      เริ่มด้วย "ท่าเตรียม" (ภาพ 1)
      1) หายใจเข้า ยาวๆ ลึกๆ พร้อมกับยืดศีรษะ ยืดตัว เขย่งเท้า ยกไหล่/หมุนไหล่ไปด้านหลังพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ภาพ 2, 3)
      2) ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก ช้าๆ พร้อมกับย่อตัวลง มือทั้งสองห้อยอยู่อย่างเป็นธรรมชาติ จนกระทั่งใกล้แตะพื้น (ภาพ 4, 5)
      3) ค่อยๆ หายใจเข้า และยืดตัวขึ้นช้าๆ เริ่มต้นการยืดตัวรอบสอง (ภาพ 6)

      ทำเช่นนี้ รวม 6 รอบ แล้วคืนสู่ท่าเตรียม (ภาพ 7)ท่าที่ 3 หมุนตัว
   
      (ดูภาพประกอบ รวม 4 ภาพ)
      ท่าหมุนตัวมี 2 ท่า คือ 3.1 หมุนหน้า และ 3.2 หมุนหลัง
      3.1 หมุนหน้า
      เริ่มต้นด้วย "ท่าเตรียม" (ภาพ 1)
      1) ใช้กำลังภายในดันไหล่ซ้ายและขวาสลับกันหมุนไปข้างหน้า ในลักษณะคล้ายกับการว่ายน้ำในท่าฟรีสไตล์ โดยพยายามควบคุมให้ไหล่หมุนเท่านั้น ไม่ยกมือหรือแขนขึ้น ปล่อยให้มือและแขนเคลื่อนตามการหมุนของไหล่ไปเรื่อยๆ (ภาพ 2, 3)      ทำเช่นนี้ รวม 8 รอบ แล้วคืนสู่ท่าเตรียม (ภาพ 4)

      3.2 หมุนหลัง
      เริ่มด้วย "ท่าเตรียม" (ภาพ 1)
      1) ใช้กำลังภายในดันไหล่ซ้ายและขวาสลับกันไปทางด้านหลัง ในลักษณะคล้ายกับการว่ายน้ำในท่ากรรเชียง (ภาพ 2, 3 แต่เคลื่อนไปในทิศทางที่สวนทางกัน)      ทำเช่นนี้ รวม 8 รอบ แล้วคืนสู่ท่าเตรียม (ภาพ 4)
  
       (ดูภาพประกอบ รวม 3 ภาพ)

 
ท่าที่ 4 เขย่าตัว
       เริ่มด้วย "ท่าเตรียม" (ภาพ 1)
       1) เขย่าตัวขึ้นลงสั้นๆ ช้าๆ มือทั้งสองข้างห้อยอยู่ข้างกาย ปลายนิ้วมือไม่กระดก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง รวม 24-28 ครั้ง (ภาพ 2, 3)
       2) เขย่าตัวขึ้นลงแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งปลายนิ้วมือทั้งสองข้างกระดกขึ้นมาเอง รักษาความเร็วและความแรงในระดับนี้ไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง รวม 80-100 ครั้ง
       3) ค่อยๆ ลดความเร็วและความแรงลง เขย่าตัวขึ้นลงสั้นๆ ช้าๆ อีกราว 24-28 ครั้ง
       แล้วคืนสู่ท่าเตรียม
  
       (ดูภาพประกอบ รวม 8 ภาพ)

 
ท่าที่ 5 เชื่อมฟ้า
       เริ่มด้วย "ท่าเตรียม" (ภาพ 1)
       1) กางแขนขึ้น (หายใจเข้า) ฝ่ามือคว่ำ (ภาพ 2)
       2) ย่อตัวลง (หายใจเข้าต่อ) ถึงระดับงอเข่าเป็นมุมฉาก (ภาพ 3)
       3) ยืดตัวขึ้น (หายใจออก) เหยียดแขน ฝ่ามือตั้ง หันฝ่ามือออก (ภาพ 4)
       4) ปรับฝ่ามือหงาย (หายใจเข้า) ผ่อนคลายลำแขน แล้วเคลื่อนมือไปด้านข้าง ให้ลำแขนทำมุม 45 องศากับลำตัว แล้วยกแขนขึ้นไปยังเหนือศีรษะ (ภาพ 5)
       5) จนกระทั่งฝ่ามือประกบกันเข้า ณ จุดสูงสุดเหนือศีรษะ(หายใจเข้าต่อ) พร้อมกับเขย่งเท้าขึ้น (ภาพ 6)
       6) ค่อยๆ ลดมือที่พนมลงมาเรื่อยๆ (หายใจออก) ผ่านหน้า หน้าอก ท้องค่อยๆหมุนมือที่พนมให้ปลายมือชี้ลง ไปจนถึงหน้าท้องน้อย (ภาพ 7, 8) แล้วจึงแยกมือออกจากกัน คืนสู่ท่าเตรียม
       ทำเช่นนี้ รวม 4 ครั้ง         ที่มาจาก wunjun.com


   
      





: Users Online

5.03.2556

รับประทาน ร้อน-เย็น ไม่สมดุลย์


การวิเคราะห์อาการ ว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบใด
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
 1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว
     หรือไม่ค่อยมีขี้ตา หนังตาตก ขนคิ้วร่วง ขอบ    ตาคล้ำ
 2. มีสิว ฝ้า
 3. มีตุ่ม แผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
 4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
 5. ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
 6. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
 7. มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง พบรอยจ้ำเขียวคล้ำ
 8. ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
 9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
10. ผิวหนังผิดปกติ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
11. ตกกระสีน้ำตาล หรือสีดำตามร่างกาย
12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก
13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
     หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2
14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีท้องอืดร่วมด้วย
    (ท้องอืดโดยทั่วไปแล้วเป็นภาวะเย็นเกิน)
15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16. เป็นเริม งูสวัด
17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลือง หรือเขียว บางทีมีเสมหะพันคอ ไอ
18. โดยสารรถ มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
19. เลือกกำเดาออก
20. มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21. เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22. เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาล หรือดำคล้ำ อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ เล็บขบ
23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับหรืออากาศ     ร้อน  หรือเปลี่ยนอิริยายถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ
จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28. เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
29. หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
30. สะอึก
31. ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า
32. เกร็ง ชัก
33. โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่ โรคหัวใจ เนื้องอก มะเร็ง โรคเกาต์ เบาหวาน ความดัน-โลหิตสูง ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และพิษของแมลงสัตว์กัดต่อย
   โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพร ฤทธิ์เย็น
       ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
1. ไข้สูงแต่หนาวสั่นหรือเย็นมือเย็นเท้า
2. ปวดหัวตัวร้อนร่วมกับท้องอืด
3. ปวด/บวม/แดง/ร้อนร่วมกับมึนชาตามเนื้อตัวแขนขา
    ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกันแก้ด้วยสมุนไพรฤทธ์เย็น แต่นำไปต้ม
หรือเติมน้ำร้อน ดื่มขณะอุ่นๆ หรือสมุนไพรฤทธ์ร้อน-เย็นผสมกัน


อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
1. หน้าซีดผิดปกติจากเดิม
2. ตุ่มหรือแผลในช่องปากด้านบน
3. ตาแฉะ ขี้ตามาก ตามัว
4. เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส
5. หนักหัว หัวตื้อ
6. ริมฝีปากซีด
7. ขอบตา หนังตาบวมตึง
8. เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า คิดช้า
9. ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน
10. ผิวหน้าบวมตึง แต่ไม่ร้อน
11. เจ็บหน้าอกด้านขวา
12. หายใจไม่อิ่ม
13. ท้องอืดจุกเสียดแน่น
14. ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก
15. อุจจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย
16. มือเท้า มึนชา เย็น สีซีดกว่าปกติ หนาวสั่นตามร่างกาย
17. ตกกระสีขาว
18. มักมีเชื้อราตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ/เล็บเท้า
19. เล็บยาวแคบกว่าปกติ
20. เท้าบวมเย็น
       โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน แก้ด้วยอาหาร ผัก-ผลไม้,สมุนไพรฤทธิ์ร้อน

อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์ร้อน

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
- เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง


กลุ่มโปรตีน
- เนื้อ นม ไข่
- ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด
- เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง
- โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม
- เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม ซีอิ้ว เป็นต้น


กลุ่มไขมัน
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น
- น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
- กะทิ เนื้อมะพร้าว
- งา รำข้าว จมูกข้าว
- เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก
- ลูกก่อ เป็นต้น


กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
- กระชาย กระเพรา กุ้ยช่าย (ผักแป้น) กระเทียม
- ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น
- ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก (พริกไทย ร้อนมาก) แมงลัก
- ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ
- ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน
(มีพลังงานความร้อนหรือแคลอรี่ที่มาก) เช่น
- กะหล่ำปลี กระเฉด ใบยอดและเมล็ดกระถิน ผักกาดเขียวปลี
- ผักโขม ผักแขยง
- คะน้า แครอท
- ชะอม
- บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ
- แพงพวยแดง
- ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง
- ลูกตำลึง ฟักทองแก่
- โสมจีน โสมเกาหลี (ร้อนเล็กน้อย)
- ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด(เทา) ยอดเสาวรส หน่อไม้
- พืชที่มีกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น


กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน
เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่ขบวนการเผาผลาญ
เป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เ่ช่น
- กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง กระทกรก (เสาวรส)
- สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน)
- ขนุนสุก
- เงาะ
- ฝรั่ง
- ทุเรียน ทับทิมแดง
- น้อยหน่า
- มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย)
- ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
- ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเีขียว ลูกยางเหลือง
- สละ ส้มเขียวหวาน สมอพิเภก
- องุ่น
- ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ  ปึ้ง ย่าง หรือตากแห้ง เป็นต้น


อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

- อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด
- อาหาร กลุ่มไขมัน
- เนื้อ นม ไข่ที่มีไขมันมาก รวมถึงสารที่มีสารเร่งสารเคมีมาก
- พืชผักผลไม้ที่มีการสารเคมีมาก
- อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรง หรือใช้คลื่นความร้อนแรง ๆ
- อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
- อาหารใส่ผงชูรส
- สมุนไพร หรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
- วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ ผง หรือเม็ด
- ยกเว้นอาจกินได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- อาหาร ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ
- ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
- ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
- น้ำร้อนจัด เย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไร แค่ไหนที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด



************

อาหารฤทธิ์เย็น
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว (เส้นหมี่. เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องเหลือง
สำหรับ น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว และวุ้นเส้นกินเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนมากๆ


กลุ่มโปรตีน
- ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย
- เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม(เห็ดบด) เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก


กลุ่มผักฤทธิ์เย็น
- กระหล่ำดอก ก้านตรง กวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม
- หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวไช้เท้า (ผักกาดหัว) ก้างปลา
- ข้าวโพด ขนุนดิบ ดอกสลิด (ดอกขจร) ฝัก/ยอด/ดอกแค
- ใบเตย ผักติ้ว ตังโอ๋ ใบ/ยอดตำลึง
- ถั่วงอก
- บัวบก สายบัว ผักบุ้ง บล๊อกเคอรี่ บวบ
- ปวยเล้ง ผักปลัง
- พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย)
- ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว ฟัก แฟง แตงต่างๆ
- มะละกอดิบ-ห่าม มะเขือเปราะ มะเขือลาย มะเขือยาว มะเขือเทศ มะเดื่อ มะอึก ใบมะยม ใบมะขาม
- มังกรหยก มะรุม ยอดมะม่วงหิมพานต์
- ย่านางเขียว-ขาว
- รางจืด
- ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ทูน (ตูน) ว่านง็อก (ใบหูลิง) ผักว่าน
- โสมไทย ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ
- หมอน้อย ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน เหงือกปลาหมอ ผักโหบแหบ
- อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ยอดอีสึก (ขุนศึก) อีหล่ำ

กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น
- กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก แก้วมังกร กระท้อน
- แคนตาลูป
- ชมพู่ เชอรี่
- แตงโม แตงไทย
- ทับทิมขาว ลูกท้อ
- มังคุด มะยม มะขวิด มะดัน มะม่วงดิบ มะละกอดิบ-ห่าม มะขามดิบ
- น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว
- ลางสาด
- สับปะรด สตรอเบอรี่ สาลี่ ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง สมอไทย
- ลูกหยี หมากเม่า หมากผีผ่วย
- แอปเปิ้ล



       เทคนิคการปรับสมดุลของร่างกาย
1.สมุนไพรเพื่อปรับสมดุล ฤทธิ์ร้อน-เย็น เช่นน้ำใบย่านาง ฯลฯ
2.ขูดกวาซา เพื่อขับพิษ,ลมออกจากร่างกาย คนที่เป็นไข้,ปวดหัวหายทันที
3.สวนล้างลำไส้ใหญ่(ดีทอกซ์)เพื่อขับพิษ ทำแล้วรู้สึกสบาย เบากาย
4.การแช่มือแช่เท้าด้วยสมุนไพรฤทธ์เย็น และฤทธิ์ร้อน
5.การพอกทาด้วยถ่าน,สมุนไพรฤทธ์เย็น อาบ,หยอด,ประคบ
6.การออกกำลังกาย โยคะกดจุดลมปราณ การไล่เส้นลมปราณ เพื่อให้ลมปราณไหลเวียนดี
   หากลมปราณอุดตันจะตึง จะปวดบริเวณนั้น หรือบริเวณที่เกี่ยวเนื่องกัน
7.เน้นอาหารธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อย รสไม่จัด ผัก-ผลไม้ฤทธิ์เย็น ถ้าอกาศหนาวก็ฤทธ์ร้อนเล็กน้อย
   (ถ้าเมืองหนาวที่มีหิมะตกก็เน้นฤทธ์ร้อน)
8.ใช้หลักธรรมรักษาใจของตน ด้วยการเว้นความชั่วทั้งปวง (รักษาศืล) รักษาใจของตน
   ให้อยู่ในฝ่ายกุศลอยู่เสมอ และฝึกสติ ให้ตัวรู้ รู้ชัดอยู่กับปัจจุบันขณะ (รู้ลมหายใจเข้า-ออก)
   รู้กาย รู้ใจของตน พิจารณากาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตามภูมิธรรมของตน
9.รู้เพียร รู้พัก ให้พอดี

คัดลอกจาก  amata เกษตรกรมือใหม่ :kasetporpeang.com
รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.morkeaw.net/

ใบย่านาง(หญ้านาง)

ใบย่านาง 
สมุนไพรลดความอ้วน,แก้โรคเบาหวาน,ความดัน,หัวใจ มะเร็ง,
ภูมิแพ้,ร้อนใน,ไซนัสจมูกตัน,ไมเกรน,ริดสีดวงทวาร,

ปอดร้อนนอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ

วิธีทำน้ำย่านาง ใช้ใบย่านาง 30-50ใบ ต่อน้ำ4ลิตรครึ่ง ผสมใบเตย-10ใบ,
หญ้าม้า10ใบ(ใบคล้ายใบอ้อย มีรสหวาน), ใบอ่อมแซบ(เบ็ญจรงค์)ประมาณ1หยิบมือ(10ยอด)
(หากมีแต่ใบย่านางกับใบเตย อย่างอื่นหาไม่ได้ 2อย่างก็ใช้ได้ครับ) ขยี้กับน้ำสะอาด
หรือปั่นด้วยเครื่องมือหมุน หรือใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดเกียว (ถ้าใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า ที่ใช้ใบมีดปั่น ให้ใส่น้ำแข็ง5-7ก้อน
เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในขณะปั่น ความร้อนจะทำลายเอ็นไซท์)ใส่น้ำเกือบเต็มโถปั่น
ปั่นประมาณ30วินาที หรือ45วินาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกงตาถี่ (ที่ร่อนแป้งด้ามพาสติก)
กากนำมาปั่นซ้ำ ได้อีก7-8ครั้ง หรือจนกว่าจะหมดเขียว
   กรองเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้4-5วัน
ถ้ารสชาดเปลี่ยนสรรพคุณจะเริ่มเสื่อมแล้ว ถ้าเสียแล้วจะเริ่มมีรสเปรี้ยว 
ถ้าต้องการให้หายเร็ว ดื่มวันละ1.5ลิตรขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลจะลดลง เหมือนคนปกติทั่วไป
  คนที่เป็นเบาหวาน ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เหตุที่ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน เพราะร่างกาย
เกิดภาวะร้อนเกินไป ระบบการทำงานของร่างกายจึงป้องกันตนเอง ไม่ให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน
เพื่อไม่ให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาล (หากร่างกายเผาผลาญน้ำตาลร่างกาย
จะยิ่งร้อนมากขึ้นไปอีก)  น้ำตาลเมื่อไม่ถูกเผาผลาญก็อยู่ในกระแสเลือด
แต่ร่างกายนำไปใช้ไม่ได้ เซลล์จึงขาดน้ำตาล มีอาการอ่อนเพลียง่าย
   จึงต้องแก้ด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น ใบย่านางมีฤทธิ์เย็นมาก เมื่อร่างกายได้เย็นลงแล้ว
ระบบการทำงานของร่างกายจะสั่งตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาเผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ
และเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน เซลล์เมื่อได้รับน้ำตาลและใช้น้ำตาลได้
อาการอ่อนเพลียจึงหายไปครับ
    เป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ ด้วยตัวของผู้ที่เป็นเบาหวานเอง 
   คนปกติที่ไม่เป็นเบาหวานก็ดื่มได้ครับ ช่วยป้องกันโรคที่ไม่มีเชื้อโรค เช่น โรคอ้วน,
ความดัน,เบาหวาน,หัวใจ,มะเร็ง,ตับ,ไต,ภูมแพ้, นอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ
   จากประสบการณ์อาจารย์อาจารย์ของผมท่านหนึ่ง เป็นโรคเบาหวานมานาน30ปี
ดื่ม1-2สัปดาห์ และกินอาหารธรรมชาติแบบหมอเขียว น้ำตาลในเลือดวัดแล้ว
ไม่เกินร้อย เวลานี้หยุดกินยาอินซูลินแล้ว หันมาดื่มน้ำใบย่านางเขียวทุกวันครับ
 อาจารย์ของผมได้ความรู้นี้จาก  หมอเขียว (ใจเพชร กล้าจน) การแพทย์วิถีพุทธ 
  ผู้ที่เป็นมะเร็ง หากดื่มน้ำใบยานางเขียว ก้อนมะเร็งจะฝ่อเล็กลง หรือจากก้อนมะเร็ง
กลายเป็นแค่ถุงน้ำ
    เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดื่มน้ำย่านาง
ผู้ที่เป็นมะเร็ง, เบาหวาน,โรคอ้วน,ไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
เช่น พริกไทย,กะเพรา,ขิง,ข่า,ใบมะกูด ฯลฯ และอาหาร รสจัด เช่นหวานจัด,เผ็ดจัด,
เค็มจัด,มันจัด,อาหารปิ้ง,ย่าง,ทอด,อบด้วยความร้อนสูง เพราะอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
จะทำให้โรครุนแรงขึ้น โบราณท่านว่าเป็นของแสลงครับ
(((พืชผัก, ผลไม้,เนื้อสัตว์ ที่มีสารเคมีตกค้าง มีพิษ ฤทธิ์ร้อนมาก)))

  คนที่ดื่มแล้ว ร่างกายเกิดภาวะเย็นเกินไป ควรเติมน้ำร้อนหรือนำไปต้มก่อน แล้วดื่มตอนอุ่นๆครับ

   ในช่วงที่ต้องการลดความอ้วน ลดพุง ลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายมานาน
ต้องงดอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน กินแต่อาหารที่มีฤทธิ์เย็น เพื่อร่างการจะได้เผาผลาญไขมันเก่า
ให้เป็นพลังงานได้เต็มที่ครับ
ใช้ได้ทั้งผู้หญิง ผู้ชายครับ สัปดาห์แรก ลดได้3-4กก.ได้สบายๆ
ถ้าเน้นอาหารธรรมชาติ ฤทธิ์เย็น พืชผักให้มากๆ(ผักปลอดสารพิษ)
ปรุงแต่งน้อย และเน้นรสจืด ใส่เกลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
กินผักสด, ลวก,หรือต้มไฟปานกลาง,นึ่ง ไม่ใช้ผงชูรส, งดการอาหารผัด,
งดอาหารที่ใส่น้ำมันทุกชนิด งดขนมหวานทุกชนิด ร่างกายจะได้
นำไขมันที่สะสมมาเผาผลาญให้เป็นพลังงานแทนครับ
ส่วนข้าว เป็นข้าวขาว หรือข้าวกล้องก็ได้ครับ ถ้าเป็นข้าวกล้องจะเยี่ยมมากครับ
ถ้ารู้สึกเหนื่อยไม่มีแรง ควรดื่มน้ำผึ้งเล็กน้อย หรือน้ำแตงโม(แตงโมปลอดสารพิษ)
***อาหารที่ปรุงด้วยไฟแรงๆ จะเพื่มฤทธิ์ร้อนให้กับอาหารมากยิ่งขึ้น
จึงต้องปรุงด้วยไฟปานกลางครับ

  ในช่วงปกติ ความจริงร่างกายของคนเรา ต้องการทั้งอาหารฤทธิ์ร้อน และฤทธิ์เย็น
อย่าง สมดุลตามฤดูกาล   แต่เนื่องจากเราอยู่ในภูมิประเทศที่ร้อน จึงต้องกินอาหารที่มีฤทธิ์เย็นมากกว่าฤทธิ์ร้อน ร่างกายจึงจะรู้สึกสบาย เบากาย และมีกำลัง
    ถ้าอยู่ในเมืองหนาวจัด ต้องได้อาหารฤทธิ์ร้อน ร่างกายจึงจะรู้สึกสบาย เบากาย
และมีกำลัง
    อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเช่น พริกไทย,กะเพรา,ขิง,ข่า,กระเทียม,ใบมะกูด ฯลฯ และอาหารรสจัด
เช่นหวานจัด,เผ็ดจัด,เค็มจัด,มันจัด,อาหารปิ้ง,ย่าง,ทอด,อบด้วยความร้อนสูง,
ผงชูรสมีฤทธิ์ร้อนจัดมาก ร้อนหลายสิบเท่าของอาหาร ที่เป็นพืชผักที่กล่าวมา
   จำง่ายๆ อาหารใดมีรสเผ็ด,ร้อน,ซ่า(เช่นข่า) หรือกินแล้วหิวน้ำมาก อาหารนั้นมีฤทธิ์ร้อน
   อาหารใดมีรสจืด,เย็น,ขม,หวานอ่อนๆ หรือตรงกันข้ามกับอาหารฤทธิ์ร้อน
กินแล้วไม่ค่อยอยากน้ำ หรือ(ดื่มน้ำแล้ว น้ำไม่อร่อยเลยเช่น ดื่มน้ำหลังกินแตงโม)
แสดงว่า อาหารนั้นมีฤทธิ์เย็น
    ตัวอย่างของอาหารกลุ่มฤทธิ์เย็นมีดังนี้
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต : น้ำตาล เส้นขาว (เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง(ยกเว้นข้าวกล้องแดง) ฯลฯ

กลุ่มโปรตีน : ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู ฯลฯ

กลุ่ม ผัก : ผักบุ้ง ตำลึง ผักหวาน บวบ ฟัก แตงต่างๆ สายบัว หยวกกล้วย ยอดฟักแม้ว มะรุม หญ้าปักกิ่ง ว่านหางจระเข้ ถั่งงอก บร็อกโคลี หัวไชเท้า ฯลฯ

กลุ่ม ผลไม้ : มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง กล้วยน้ำว้า มะขามดิบ น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลางสาด สตอรว์เบอร์รี่ ฯลฯ

แม้รสชาติจะต่างกัน แต่อาหารฤทธิ์เย็น อาหารฤทธิ์ร้อน มีหลักการเดียวกัน คือปรับสมดุลร่างกาย
ดังคำกล่าวที่ว่า "กินแล้วรู้สึกสบาย เบากาย มีกำลัง"

ข้อมูลจาก .kasetporpeang.com

หญ้าไผ่น้ำ



หญ้าไผ่น้ำ หรือ หญ้าจุยเต็กเฉ้า หรือ หญ้าดอกฮวยอะเจียเฉ้า ถิ่นกำเนิดที่มณฑลกวงสี มณฑลกวางตุ้ง และมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน  เป็นไม้ล้มลุก มีลักษณะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบเรียวกลม ด้านบนสีเขียว ด้านหลังสีม่วงบานเย็น มีก้านเป็นข้ออวบน้ำ  เลื้อยตามดิน ก้านเถามีขนอ่อนๆ  ดอกสีม่วง
     ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ด้วยข้อ พบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ข้างคันนา ริมธารน้ำหรือที่ว่างทั่วไป

 มีผู้นำไปปลูกที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นยาทานแก้พิษร้อนใน ต่อมา พบว่าเป็นยาสมุนไพร ที่สามารถขับพิษที่ตกค้างในไต ออกทางปัสสาวะ ทำให้ไตคืนสภาพเป็นปกติ
หญ้าไผ่น้ำ มีลักษณะเป็นใบเรียวกลม ด้านบนของใบมีสีเขียว ด้านหลังของใบเป็นสีบานเย็น มีก้านเป็นข้อ ๆ เลื้อยไปตามพื้นดิน ก้านจะมีขนอ่อนนิด ๆ ควรปลูกในกระถางปากกว้าง ดินลึกประมาณ 5 นิ้ว ชอบความชุ่มชื้น แดดอ่อน แต่น้ำไม่ขัง หน้าฝนเจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยตัดก้านให้มีความยาว 3 - 4 นิ้ว ปักชำลงในดิน ประมาณ 2 อาทิตย์ จะมีรากงอกออกมาที่ก้านตามข้อ ดังนั้น การขยายพันธุ์จึงทำได้ง่าย


ชาวจีน เชื่อถือในสรรพคุณของ “หญ้าไผ่นํ้า” กันมาก โดยมีผู้เป็นโรคไตขนาดต้องฟอกไตเป็นประจำ เมื่อนำเอา “หญ้าไผ่นํ้า” ไป ต้มนํ้าดื่มวันละแก้วใหญ่ๆ กินติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน อาการของโรคไตที่เป็นอยู่ หายได้โดยไม่ต้องฟอกไตอีก ซึ่งอัตราส่วนในการต้มดื่ม เอาต้น “หญ้าไผ่นํ้า” แบบสด 250 กรัม นํ้าเยอะหน่อย ต้มจนเดือดเคี่ยวประมาณ 1 ชั่วโมง เทดื่มขณะอุ่นวันละแก้ว ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เวลาไหนก็ได้ ต้มดื่มต่อเนื่อง 3 เดือนแรกอาการจะดีขึ้น 3 เดือนหลัง หรือ 6 เดือน อาการจะหายขาด ปัจจุบันมีผู้นำเอา “หญ้าไผ่นํ้า” มาวางขาย จึงรีบแนะนำให้ผู้อ่านไทยรัฐได้รู้จักอีกตามระเบียบ



สรรพคุณหญ้าไผ่น้ำ
นอกจากกินแก้ร้อนใน ยังสามารถลดการอับเสบของทางเดินปัสสาวะ แก้พิษงูกัด บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต บรรเทาอาการบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษงูกัด  ชาวบ้านทั่วไปใช้ในการรักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ  ลำคออักเสบ  ท้องเดิน ผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคไต โดยค่าของ BUN ในเลือดสูงเกินปกติ หรือ CREATININE สูงเกินค่าที่กำหนด เป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่า จะต้องงดทานเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ถั่วที่มีโปรตีนสูง ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่มียารักษาเพียงรอให้อาการของผู้ป่วย ถึงขั้นอาเจียน ขาบวม ท้องอืด เบื่ออาหาร ท้ายสุดก็ต้องไปฟอกไต ถ้าคนไข้เริ่มมีอาการใหม่ ๆ ให้ทานน้ำต้มหญ้าไผ่น้ำ จะช่วยบรรเทาอาการของโรคไตได้ดี ดังเช่น บุคคลหลาย ๆ ท่าน ที่ทานยานี้แล้ว อาการของไตเสื่อมจะไม่ปรากฎ ที่บริษัทของข้าพเจ้า แม่ของพนักงานส่งของ มีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง ต้องพาส่งโรงพยาบาล และทำการฟอกไตมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อข้าพเจ้าให้หญ้าไผ่น้ำ ไปต้มกับน้ำ ทานวันละ 2-3 แก้ว ปรากฎว่า หลังจากนั้นมีชีวิตอยู่เป็นปกติ ไม่ต้องเสียเงินเพื่อฟอกไตอีก ปัจจุบันก็ทานต่อเนื่อง คนทั่วไปที่ไม่มีโรคภัย ก็สามารถรับประทานสมุนไพรนี้ได้
    ใช้เป็นยาทั้งต้นใช้สด  หรือ ตากแห้งเก็บไว้ก็ได้  รสชาดเย็นจืด ...

    วิธีต้มหญ้าไผ่น้ำ
นำ หญ้าไผ่น้ำประมาณ 100-150 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อต้ม (ควรเป็นหม้อเคลือบ) เติมน้ำสะอาด 2 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วหรี่ไฟอ่อน ต้มอีกประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วตักเอาหญ้าไผ่น้ำออก จะเห็นน้ำใส ๆ เป็นสีบานเย็นอ่อน ไม่ควรใส่น้ำตาลหรืออย่างอื่น วางทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบรรจุขวดเข้าตู้เย็นทานได้ทุกเวลา วันละ 3-4 แก้ว    อีกวิธี  หนึ่งคือ ใช้หญ้าไผ่น้ำ 500 กรัม (ครึ่ง กก.) ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำลงไป 6 ลิตร ต้มเดือดแล้วเคี่ยวไป 2 ชม.ครึ่ง แล้วตักเอาหญ้าออก แล้วนำบรรจุขวดเข้าตู้เย็น ทานวันละ 1 แก้วใหญ่  สำหรับผู้ป่วยโรคไตหลังจากทานหญ้าไผ่น้ำแล้ว ประมาณ 3 เดือน ควรไปเจาะเลือดตรวจค่า ของ  BUN และ CREATNINE ด้วย


ข้อมูลจาก ไทยรัฐ/คุณชุม เมืองใต้ และ กูเกิ้ล กูรู